การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

สราวุธ วิเชียรลม
ปาริชาติ บัวเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาและครูแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 225 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งต่อ สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และค่าดัชนีของความต้องการจำเป็นโดยรวมเท่ากับ 0.340 (PNImodified = 0.340) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการส่งต่อ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
วิเชียรลม ส., & บัวเจริญ ป. (2024). การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(1), 194–205. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/267042
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ณัฐพรรณ แสงน้ำผึ้ง. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสาตรมหาบัณฑิต). นครสรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

แดนไพร สีมาคาม. (2564). กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญเลิศ ทัดเทียม. (2557). ความต้องจำเป็นในการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

แพรพลอย พัฒนะแสง. (2565). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). เอกสารสรุปย่อองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาทีมงานขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการก้าวย่างอย่างยั่งยืน ปี 2552 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.