การวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองของจอห์น ล็อค

Main Article Content

พระสุกรี ยโสธโร
พระครู ภาวนาโพธิคุณ
จรัส ลีกา
พระครู ศรีปริยัติบัณฑิต
อุทัย กมลศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีปรัชญาการเมือง  2) เพื่อศึกษาปรัชญาการเมืองในทรรศนะของจอห์น ล็อค 3) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองในทรรศนะของจอห์น ล็อค  เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การเมืองการปกครองเป็นการจัดสรรอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ด้วยการกำหนดและบังคับใช้กฎระเบียบของสังคมอย่างยุติธรรม เสมอภาค และเท่าเทียม การเมืองจึงเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการตัดสินใจในจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ และควบคุมการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม ด้วยการปฏิบัติตามกติกา ตลอดจนการยอมรับการใช้อำนาจในสังคม

  2. ปรัชญาการเมืองในทรรศนะของจอห์น ล็อค ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งรัฐบาลอันชอบธรรมที่มาจากสมาชิกในสังคม และการตัดสินหรือวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ต้องอาศัยมติของสมาชิกในสังคมซึ่งได้มาตามเสียงข้างมากเป็นตัวชี้วัด

  3. จอห์น ล็อค ให้ทัศนะว่า สิทธิพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในการมีผลประโยชน์ร่วมกันของปัจเจกชนในสังคม ประกอบด้วย 1) สิทธิในตัวเอง ที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชีวิตร่างกายให้อยู่รอด 2) สิทธิตามธรรมชาติ ทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการใช้ทรัพย์สินและการแสดงออกทางร่างกายภายใต้กฎธรรมชาติ 3) สภาวะแห่งความเสมอภาค เป็นสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันในสิทธิเสรีภาพที่สมบูรณ์ 4) สิทธิในทรัพย์สิน ในตัวของตนเอง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของร่วม แรงงานจากร่างกายของเขาและผลงานจากน้ำมือของเขาเป็นของเขาอย่างถูกต้อง 5) สิทธิทางการเมืองการปกครอง มนุษย์มีสิทธิอำนาจในการเมืองการปกครองและอำนาจในการตรวจสอบการตัดสินใจในระบบการเมืองได้อย่างอิสระ และปัจจุบันถือได้ว่าแนวคิดนี้เป็นส่วนสำคัญที่พัฒนาไปสู่แนวคิดว่าด้วย ปฏิญญาสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์

Article Details

How to Cite
ยโสธโร พ. ., ภาวนาโพธิคุณ พ., ลีกา จ. ., ศรีปริยัติบัณฑิต พ., & กมลศิลป์ อ. (2023). การวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองของจอห์น ล็อค. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(4), 291–306. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/265848
บท
บทความวิจัย

References

กวี อิศริวรรณ. (2528). ความคิดทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สยามบรรณการ.

ชยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2561). ความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ : มนุษย์กับการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติสา ขาวสนิท. (2543). การศึกษาแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพในเหตุการณ์ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 โดยเปรียบเทียบกับแนวคิดทางการเมืองของจอห์น ล็อค. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานทิพย์ ศุภนคร. (2545). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปานทิพย์ แซ่โค้ว. (2542). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเชิงปรัชญา เรื่อง ธัมมิกราชาและราชาปราชญ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2559). วิเคราะห์แนวคิดเรื่องเสรีภาพของจอห์น ล็อค. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสถียร หอมขจร และคณะ. (2528). ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสน่ห์ จามริก (แปล). (2515). ความคิดทางการเมืองจากเพลโตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

John Locke. (1970). Two Treatises of Government. P. Laslett (ed.),. Cambridge: Cambridge University.