ความเป็นหญิงในลิลิตพระลอ : บทบาทแม่ เมีย และลูกสาว

Main Article Content

พร้อมสิริ นามมุงคุณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นหญิงภายใต้อิทธิพลของสังคมปิตาธิปไตยในวรรณคดีเรื่อง “ลิลิตพระลอ” โดยศึกษาความเป็นหญิงใน 3 มิติ คือ 1. บทบาทความเป็นแม่ 2. บทบาทความเป็นเมียและ 3. บทบาทการเป็นลูกสาว ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครหญิงในลิลิตพระลอล้วนถูกยึดโยงจากอิทธิพลชายเป็นใหญ่ทั้งสิ้น บทบาทเหล่านี้ถูกกำหนดให้เป็นจากการสั่งสอนขนบธรรมเนียมประเพณีและจารีตต่าง ๆ ตามแบบฉบับ ดังนั้น ภาพความเป็นหญิงที่แสดงออกมาสะท้อนให้เห็นว่าสตรีในราชสำนักจะต้องมีกิริยามารยาทและการวางตัวที่ดีงามสมค่าแก่ชาติกำเนิด ในบทบาทการเป็นลูกสาวต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ และเมื่อมีสามีก็ต้องปรนนิบัติดูแลเป็นอย่างดี สามารถยินดีและยินยอมในความสุขของสามีที่สามารถมีเมียหลายคนได้ และเมื่อเป็นแม่ก็ต้องทำหน้าที่คอยเลี้ยงดูอุ้มชูลูกตั้งแต่เล็กจนโตเพื่อให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวละครหญิงในเรื่องไม่มีอำนาจใด ๆ ในแง่การเมืองการปกครอง ถูกจำกัดให้อยู่และมีบทบาทแต่เพียงในส่วนของสถาบันครอบครัวเท่านั้น

Article Details

How to Cite
นามมุงคุณ พ. (2024). ความเป็นหญิงในลิลิตพระลอ : บทบาทแม่ เมีย และลูกสาว. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/265053
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2517). ลิลิตพระลอ. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2475). บันทึกพระวินิจฉัยเรื่องลิลิตพระลอ. สมาคมวรรณคดี, 1(5), 14-15.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร ประชากุล. (2544). แนวคิดสกุล “สตรีนิยม” (Feminism). สารคดี, 17(195), 114-119.

พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์)). กรุงเทพฯ: คณะภาษาและการสื่อสารบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชย์. (2509). ประชุมปฐกฐาและคำอภิปรายของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชย์. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

เสนาะ เจริญพร. (2546). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: มติชน.

อรทัย เพียยุระ. (2560). วรรณกรรมกับเพศภาวะ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เดอ ลาลูแบร์. (2510). ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า.

Beauvoir, Simone de. (1953). The Second Sex (Parshley, H.M., Trans.). INC, New York.