พฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การนิเทศแบบไม่ชี้นำ มีความคิดเห็นอยู่ระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ การนิเทศแบบร่วมมือ รองลงมาคือ การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นอยู่ระดับปานกลาง คือ การนิเทศแบบชี้นำควบคุม
2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนิเทศแบบชี้นำควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสถานศึกษาขนาดใหญ่มีพฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษามากกว่าสถานศึกษาขนาดกลางและสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัตติกา สกุลสวน, ภารดี อนันต์นาวี และ มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). รูปแบบการนิเทศแนวใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 85-101.
เกลื้อกูล พงไทยสง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน และคณะ. (2564). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 90-102.
มะรอฟี เจะเลาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เมธินี สะไร. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รพิรัตน์ เกษมสุข และ สุภาวดี ลาภเจริญ. (2566). ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การนิเทศแบบสอนแนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(1), 313-326.
โศรยา สาและ และ สุดารัตน์ สารสว่าง. (2558). กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในโรงเรียนอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วารสารครุศาสตร์, 43(1), 128-138.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566, จาก http://www.kan1.go.th/main/
Glickman, C.D., Gordon, S. P. & Ross-Gordon, J. M. (1995). Supervision of Instruction : A development approach (3rd ed.). Boston: Allen and Bacon.
______.(2004). Supervision and instructional leadership: A developmental approach. New York: Pearson.
______. (2009). The basic guide to supervision and instructional leadership. (2nd ed.). Boston: n.p.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.