การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) ศึกษาระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 279 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมสําเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2โดยภาพรวมมีระดับพฤติกรรมของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การควบคุมกลยุทธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2) องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การคิดเชิงระบบ
3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 พบว่ามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การควบคุมกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การกำหนดกลยุทธ์ และการวิเคราะห์สภาพพแวดล้อม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.729 มีค่าสัมประสิทธิ์อำนาจพยากรณ์องค์กรแห่งการเรียนรู้ ร้อยละ 53.2 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จามร แจ่มเกิด. (2563). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ชยพลคำ ยะอุ่น. (2562). ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(2), 248-260.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูชั่น.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
สิรินดา แจ่มแจ้ง. (2560). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สุทญา อร่ามรัตน์ (2562) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุนทรีย์ ธิชากรณ์. (2563). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อารยา ศรีสุข. (2564). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Wheelen T L, Hunger J D.(2012). Strategic management and business policy : toward global sustainability. (13th ed.). New York: Prentice Hall.