การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระกฤษดา ธมฺมสาโร (สาระวิต)
ชาญชัย ฮวดศรี
สมควร นามสีฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) ประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาล
เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชนในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์มีจำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
2) ผลการเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาล เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
3) ผลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบว่า 1. ฉันทะ การตัดสินใจ สร้างความพอใจในการทำงานประสงค์จะทำยิ่งขึ้น 2. วิริยะ ความขยัน หมั่นเพียร การปฏิบัติตามแผน 3. จิตตะ การคิดค้นหาสาเหตุ ความมีจิตใจสู้ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค 4. วิมังสา การประเมินผล การรู้จักใช้ปัญญา ใช้ความคิดพิจารณาอย่างรอบด้านในการทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

Article Details

How to Cite
ธมฺมสาโร (สาระวิต) พ., ฮวดศรี ช. ., & นามสีฐาน ส. (2023). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(4), 332–342. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/261376
บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นวันท่ี 1 พฤศจิกายน 2558, จาก http://www.chaipat.or.th/

ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล (ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน). กรุงเทพน: สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม. (2555).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: สำนักงานกิจการยุติธรรม.

ชุมไชศักดิ์ อัครธนอนันต์, “การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติด เขตพื้นที่บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร” (๒๕๕๔ : บทคัดย่อ)

กานต์ ล้วนแก้ว. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2552).

มะพาริ กะมูนิง มารุยูกี รานิง ตายูดนิ อุสมาน. บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดของ (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ๒๕๕๖)

ดาบตำรวจนิวาส วิรัช. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน วิทยานิพนธ์หลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (๒๕๕๗)

เสนีย์ วัยวัฒนะ. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในชุมชน กรณี ชุมชนพัฒนาล็อค 4-5-6 แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพฯ (๒๕๕๒)