การศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงรายและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเรื่องแนวทางการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจกรรมบำบัดศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงรายประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริการ 2) ด้านบริหารจัดการ 3) ด้านวิชาการ และ 4) ด้านการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.02, S.D. = 0.37) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านวิชาการ (
= 4.31, S.D. = 0.57) ด้านบริการ (
= 4.30, S.D. = 0.42) ด้านการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ (
= 4.01, S.D. = 0.57) ส่วนด้านบริหารจัดการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.46, S.D. = 0.43)
2. แนวทางการบริหารงานกิจกรรมบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1) ด้านบริการ ควรมีการวางแผนกระบวนการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดอย่างเป็นระบบ และควรได้รับการนิเทศกำกับติดตามจากผู้บริหารและหัวหน้าฝ่าย 2) ด้านบริหารจัดการ ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด
มีการจัดสถานที่เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย มีการดำเนินการสรุปข้อมูลรายงานประจำปีชัดเจนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และได้รับการนิเทศกำกับติดตามจากผู้บริหารและหัวหน้าฝ่าย 3) ด้านวิชาการ ควรพัฒนาจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาและพัฒนาร่างหลักสูตรกิจกรรมบำบัดที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ให้ความรู้แก่ครูบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้พัฒนางาน ควรได้รับการนิเทศกำกับติดตามจากผู้บริหารและหัวหน้าฝ่าย 4) ด้านการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ควรสร้างความเข้าใจและข้อตกลงกับครูกิจกรรมบำบัดให้ชัดเจนในหน้าที่อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด ดังนั้น ควรมีการวางแผน จัดปฏิทินการดำเนินงาน นิเทศกำกับติดตามจากผู้บริหารและหัวหน้าฝ่าย สรุปและประเมินผล การดำเนินงาน เพื่อมาพัฒนาปรับปรุงและดำเนินการต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จีระพรรณ โพนพุธ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชมรมครูกิจกรรมบำบัด. (2560). มาตรฐานการปฏิบัติงานกิจกรรมบำบัดในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ.
ช่อทิพย์ มงคลธวัช และ ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 32-49.
ดลยา อินจำปา และคณะ. (2560). เอกสารประกอบการเรียน การศึกษาพิเศษ. คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2562). รูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (รายงานการวิจัย). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก, หน้า 1-13.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1-22.
มนัชญา แก้วอินทรชัย. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 117-133.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.
วิชิตา เกศะรักษ์. (2551). การศึกษาเชิงปรากฏการณวิทยาประสบการณ์การทำงานของนักกิจกรรมบำบัดในสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย. (2564). สารสนเทศของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2564. เชียงราย: ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
สุชาดา บุบผา. (2557). การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
American Occupational Therapy Association (AOTA). (2016). Occupational therapy in school settings. Retrieved Jan 25, 2022, from http://www.aota.org
Johnson, J. (1996). School based occupational therapy. In Case-Smith, J., Allen. A.S & Pratt, P.N., Occupational Therapy for Children (pp 693-716). (3rd ed.). St Louis: Mosby.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.