การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูศิลปะผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สายพิณ สังคีตศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาผลของการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูศิลปะผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาศิลปศึกษา จำนวน 36 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน, แบบทดสอบความรู้, แบบประเมินจรรยาบรรณวิชาชีพครู, แบบสังเคราะห์ชิ้นงาน และแบบบันทึกการติดตามการดำเนินงาน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) ด้านสังกัด นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมากที่สุด ร้อยละ 66.6 2) ข้อมูลทั่วไป เป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 52.77 และเพศชาย ร้อยละ 47.22
3) ข้อมูลสภาพการจัดการเรียนการสอน ทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มากที่สุด ร้อยละ 46.7 สอนวิชาทัศนศิลป์ มากที่สุด ร้อยละ 96.6 จัดการเรียนการสอนศิลปะแบบปฏิบัติ มากที่สุด ร้อยละ 66.7 มีการจัดเนื้อหาระหว่าง ทฤษฎี : ปฏิบัติ ในปริมาณที่ 50:50 มากที่สุด ร้อยละ 46.7 มีการใช้สื่อ Power Point ประกอบการสอน มากที่สุด ร้อยละ 73.3 และมีการประเมินผลโดยให้นักเรียนถ่ายภาพและส่งผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ร้อยละ 83.3
2. ผลของการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูศิลปะ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.93) ทั้งนี้นักศึกษามีจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 5.00) และจรรยาบรรณต่อวิชาชีพน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.88)

Article Details

How to Cite
สังคีตศิลป์ ส. . (2023). การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูศิลปะผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(1), 72–83. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/260323
บท
บทความวิจัย

References

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.

พรพิมล แก้วฟุ้งรังสี. (2563). การศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 7(1), 48-54.

เพ็ญพนอ พ่วงแพ, อนงค์พร สมานชาติ และกัลยา เทียนวงศ์. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 117-127.

มนตรี แย้มกสิกร, อมลวรรณ วีระธรรมโม และวิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2564). หลักการและระบบปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพครูผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 1-12.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจิตรา สามาอาพัฒ. (2564). การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 42-51.

ศศิธร อินตุ่น และอรกมล สุวรรณประเทศ. (2565). การศึกษาความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 212-227.

ศักดิ์ชาย เพชรช่วย, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ และ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2560). แนวปฏิบัติที่ดีของโครงการ ผลิตครูในสถาบันผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 307-320.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2554). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี ไสยรินทร์, จิณณวัตร ปะโคทัง, และณัฐกิตติ์ สวัสดิ์ไธสง. (2564). รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2531-2540.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและการพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.