วิธีรักษาผู้ป่วยทางจิตด้วยภูมิปัญญาของวัดป่าดอนเปลือย ตำบลขามเฒ่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เชิงพุทธปรัชญา

Main Article Content

พระครู ศีลวัตรประภากร
พระครู ภาวนาโพธิคุณ
จรัส ลีกา
อุทัย กมลศิลป์
พระมหาปพน กตสาโร (แสงย้อย)
พลเผ่า เพ็งวิภาศ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยทางจิตของวัดป่าดอนเปลือย
2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยทางจิต 3) เพื่อวิเคราะห์วิธีรักษาผู้ป่วยทางจิต
ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของวัดป่าดอนเปลือย ตำบลขามเฒ่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
เชิงปรัชญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาของผู้ป่วยทางจิตเกิดจากสาเหตุสำคัญคือ ปัญหาครอบครัว ปัญหาทาเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคม และสิ่งแวดล้อม
2. ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยทางจิตแยกเป็น 1) การรักษาทางกาย มี 3 วิธี คือ
การรักษาด้วยน้ำมัน สมุนไพร และการเป่า 2) การรักษาทางใจ มี 3 วิธี คือ หมอลำทรง หมอธรรม และหมอพราหมณ์
3. วิธีรักษาผู้ป่วยทางจิตด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของวัดป่าดอนเปลือยมี 2 วิธี คือวิธีรักษาทางกายด้วยการดื่มน้ำมนต์ และการอาบน้ำมนต์ วิธีรักษาทางใจ ด้วยการสวดมนต์ และการทำสมาธิอธิษฐานจิต เมื่อวิเคราะห์ตามหลักนิยาม 5 พบว่า โรคที่เกิดจากพีชนิยาม อุตุนิยาม สามารถรักษาด้วยเวชวิธี และสมุนไพรได้ แต่โรคที่เกิดจาก จิตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม ต้องใช้ธรรมโอสถในการรักษา

Article Details

How to Cite
ศีลวัตรประภากร พ., ภาวนาโพธิคุณ พ., ลีกา จ., กมลศิลป์ อ. ., กตสาโร (แสงย้อย) พ. ., & เพ็งวิภาศ พ. . (2022). วิธีรักษาผู้ป่วยทางจิตด้วยภูมิปัญญาของวัดป่าดอนเปลือย ตำบลขามเฒ่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เชิงพุทธปรัชญา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(4), 389–401. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/259474
บท
บทความวิจัย

References

ดาวชมพู นาคะวิโร. (19 มกราคม 2561). วิธีบำบัดอาการป่วยทางจิตให้ได้ผล. ภาคจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญวดี เพชรรัตน์ และ เยาวนาถ สุวลักษณ์. (2546). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน. สงขลานครินทร์เวชสาร, 21(4), 249-258.

ประเวศ วะสี. (2544). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปานวาด มากนวล. (2556). บทบาทและการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค ที่บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ แก้วชิณ. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในเขต อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: ภาคโปสเตอร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนทรีภรณ์ ทองไสย์. (2558). การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล, 42(3)

Bungkrachang T, Thanee T, Sithikun P, (2014), Development of Guideline for Alleviating among Psychiatric Patients with Chain in Pulic Health Region 13, Thailand. Journal of Nursing and Health Care Devision.

Department of Mental Health. (2014). Mental Health of Thailand from 2012 - to 2013. Bangkok: Office of Mental Health.