ปัจจัยความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การของกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การในสังกัดกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (2) ศึกษาระดับความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความพึงพอใจในงานกับความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การในสังกัดกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระดับความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการฝึกพิเศษกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวน จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนที่เคยยื่นคำร้องขอย้าย และเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนที่ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายออกนอกสังกัด รวมจำนวน 6 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยความพึงพอใจในงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงาน ด้านโอกาสความก้าวหน้า ด้านการบังคับบัญชา และด้านรายได้
2) ระดับความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3) ปัจจัยความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับระดับความตั้งใจในการคงอยู่กับองค์การในสังกัดกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อยู่ในระดับต่ำ (r=0.395) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) เจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่เห็นว่า ตำรวจต้องทำงานด้านปราบปราม และการสืบสวน เนื่องจากมีความท้าทาย และมีผลกระทบต่อสังคมไทยมากกว่างานด้านอื่น ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณี ก้อนพิงค์. (2552). ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาลศิริราช. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กองบังคับการฝึกพิเศษ. (2564). รายงานประจำปีกองบังคับการฝึกพิเศษ 2564. เพชรบุรี: กองบังคับการฝึกพิเศษ.
จุไรวรรณ บินดุเหล็ม. (2562). .ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ตติยา ผาสุข. (2559). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งหนึ่งโดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศมาภรณ์ วรพรรณโสภาค. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สัญญาใจการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยาและความตั้งใจคงอยู่ในองค์การ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ. (รายงานการวิจัยจากเงินงบประมาณรายได้). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Phillips, J. J., and Phillips, P. P. (2002). Retaining your best employees. Alexandria, VA: SHRM.
Price, J. R. and C.W. Mueller. (1981). A causal model of turnover for nurse. Academy of Management Journal, 24, 543-565.
Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. Harper International Edition, Tokyo.