การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

สายสุดา ฤทธิยงค์

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา และความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐานเทศบาลนครขอนแก่น 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิต และการทำงานของผู้เรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ วิจัย (R1) พัฒนา (D1) วิจัย (R2) และพัฒนา (D2) กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 298 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 36 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน และตัวแทนชุมชน จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกประเด็นศึกษาข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน แบบสอบถาม แบบประเมิน ประเด็นสนทนากลุ่ม คู่มือการใช้รูปแบบ และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทของโรงเรียน มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนครอบคลุมการพัฒนาทุกด้าน มีความทันสมัยและเป็นไปได้ เปิดโอกาสในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และสภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น


2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการ
ใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อของรูปแบบ ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และ ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน ส่วนที่ 4 ภาพความสำเร็จของการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ


3. การใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ


4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิและอาชีพ ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผู้เรียนมีความสามารถ
ในการแก้ปัญหาเป็น

Article Details

How to Cite
ฤทธิยงค์ ส. (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(3), 136–156. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/258119
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์. (2552). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล.ที.เพรส.

ปกรณ์ กันอุปัทว์. (2548). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอพเพอร์ตี้พรินท์ จำกัด.

เพชริน สงค์ประสงค์. (2551). การวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาณี สัจจาพันธ์. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(1), 89-97.

ยิ่งยง แสนเดช. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์บริหารศาสตรมหาบัณฑิต). ระยอง: วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2546). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย โกลละสุต (2549). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาทักษะตัวบ่งชี้ในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2550). การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 53.

ศศิกานต์ เจริญดี. (2544). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภรัตน์ ทรายทอง. (2553). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูและความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สถิตย์ ทองวิจิตร. (2550). พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดหมน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). หน่วยที่ 7 ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา. (ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Caldwell, B.J., & Spink, J.M. (1988). The Self-management. London: Flamer Press.