การให้บริการขอรับพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ภายหลังจากการจัดตั้งส่วนงานบริการในส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธนภัทร สีหาไว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและสะท้อนผลตอบรับจากการให้บริการ ปัญหาอุปสรรค ตลอดจนแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ การขอพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มเจ้าภาพหรือทายาทของผู้วายชนม์ที่ได้รับพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพ ฯ 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพิธีซึ่งมีประสบการณ์ทำงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่มีตำแหน่งระดับข้าราชการผู้ควบคุมทีมหรือหัวหน้าทีม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการค้นหาแก่นสาระ ตีความ และอธิบายความตามกรอบการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า การให้บริการการขอรับพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานส่วนภูมิภาค ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สามารถตอบสนองและสะดวกต่อญาติและครอบครัวของผู้วายชนม์ภายหลังจากมีการจัดตั้งส่วนงานให้บริการขึ้นในระดับภูมิภาค โดยสามารถอธิบายได้ตามกรอบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะใน 5 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติการให้บริการด้วยความเสมอภาค 2) มิติการให้บริการอย่างทันเวลา 3) มิติการให้บริการอย่างเพียงพอ 4) มิติการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และ 5) มิติด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า อย่างไรก็ตามในการให้บริการประชาชนยังพบปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน คือ การคาดการณ์ระยะเวลาไม่ได้ การเดินทางที่จะไปให้บริหารที่มีระยะทางที่ไม่เท่ากัน รวมทั้งความแตกต่างของภูมิประเทศ และพิธีการแต่ละท้องถิ่น จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องวางแผนควบคุมการปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลของการปฏิบัติงานเพื่อการปรับปรุงการให้บริการตลอดเวลา พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานซึ่งช่วย ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และประหยัดงบประมาณ

Article Details

How to Cite
สีหาไว ธ. (2022). การให้บริการขอรับพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ภายหลังจากการจัดตั้งส่วนงานบริการในส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(4), 158–168. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/257618
บท
บทความวิจัย

References

กรมพระดำรงราชานุภาพ, กรมพระสมมตอมรพันธุ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์. (2468). ตำนานพระโกศและหีบศพบันดาศักดิ์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://th.wikisource.org/wiki.

กองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก. (2558). การขอพระราชทานน้ำหลวง ขอพระราชทานเพลิงหลวง หีบเพลิงหลวง หีบเพลิง. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564, จาก http://www.chapanakitrta.com.

กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน. (2564). โครงสร้าง/อำนาจหน้าที่. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564, จาก https://www.mculture.go.th/funeral/ewt_news.php?nid=308.

ชาย โพธิสุตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง

ภาณุมาศ ทองสุขศรี. (2560). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาและบุคลากรที่มีต่อการจัดงานกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/242828.

มาลี ชายหงส์. (2562). การเสนอขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้ผู้กระทำความดีความชอบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/183951.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). การขอพระราชทานเพลิงศพ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://op.mahidol.ac.th/ga/wpcontent/uploads/2018/05/d13.

เลิศสิน จึงจรัสทรัพย์. (2553). ความพึงพอใจต่อบริการสาธารณะของสุขาภิบาลอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา เน้นสังคมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น. (2564). กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 10 ขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://www.mculture.go.th/khonkaen/more_news.php?cid=29&filename=index.

หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง. (2564). กองงานในพระองค์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2564, จาก https://www.royaloffice.th/contactus/