การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองที่มีศักยภาพของจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม และ 2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมชุมชนตำบลบ้านแหลมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองที่มีศักยภาพของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ศึกษากับกลุ่มประชากร ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประชาชน ผู้ประกอบการร้านค้าและบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าเป็นเพศชาย
50 คน และเพศหญิง 50 คน รวมจำนวน 100 คน จากนั้นเลือกสุ่มแบบบังเอิญ และวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นโดยรวมต่อศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของตำบลบ้านแหลมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) (= 4.73, S.D. = 0.55) ด้านแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) (
= 4.69, S.D. = 0.55) ด้านที่พัก (Accommodation) (
= 4.63, S.D. = 0.54) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) (
= 4.58, S.D. = 0.57) และด้านสุดท้ายสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities and Facilities) (
= 4.55, S.D. = 0.59) และการศึกษาแนวทางส่งเสริมชุมชนตำบลบ้านแหลมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ชุมชนต้องการความช่วยเหลือด้านต่อไปนี้ 1) การให้องค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน (
= 4.70, S.D. = 0.42) และส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือการท่องเที่ยวชุมชน (
= 4.70, S.D. = 0.50) 2) การออกแบบกิจกรรมการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกอัตลักษณ์ชุมชน 3) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน (
= 4.65, S.D. = 0.55) และการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวก และ 4) การออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชุมชน (
= 4.74, S.D. = 0.46) และให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ (Start-up) ด้านการท่องเที่ยวชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). นโยบายและแผนการตลาด. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.tat.or.th/th/about-tat/market-plan
ชัยนุวัฒน์ ปูนคำปีน และ ชัยพงษ์ สำเนียง. (2555). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : การสร้าง ขยายเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://prachatai.com
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2547). พฤติกรรมองค์การและการจัดการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช.
สมยศ โอ่งเคลือบ. (2557). แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562, จาก https://www.slideshare.net/blackstarshooter99/7-1-37072398
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ครั้งที่ 1. วันที่ 16 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://identity.bsru.ac.th/archives/3735
_______. (2018). Tourism Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-go-local/
TATREVIEW. (2018). การท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน วิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน: การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). Harper and Row, New York.