ภารกิจกู้คืนการเรียนการสอนภาษาไทยหลังวิกฤตการณ์โรคโควิด - 19 และจิตวิญญาณ แห่งความเป็นครูยุคนิว นอร์มอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาไทยแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย และตามวิถีความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีการพัฒนาแล้วก็ตามที่แต่หลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ยังไม่สามารถบ่งชี้ให้ครูผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนให้สูงขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศได้ ปัญหาการเรียน การสอน และการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
เริ่มมีแต่ปัญหาในระดับนโยบาย ปัญหาที่ตัวผู้สอน และผู้เรียน ปัญหาที่สื่อหรือนวัตกรรม และปัญหา
ที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้เรียนมิได้ให้ความสนใจกับวิชาภาษาไทยอย่างตระหนักรู้ว่า โดยเฉพาะปัญหา
การเรียนภาษาไทยที่มีปัญหาหลายระดับที่เกิดขึ้น ปัญหาในระดับนโยบาย ชั่วโมงของวิชาภาษาไทย
ในทุกระดับชั้นถูกลดทอนลง จนผู้สอนมิอาจดำเนินการให้ลุ่มลึกได้ และนโยบายที่มิให้มี “เด็กตก” เป็นการเพิ่ม “ตัวเลข” ผู้อ่านหนังสือไม่ออก ให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นปัญหายิ่ง ผู้บริหารในทุกลำดับชั้น มิได้ให้ความสำคัญกับภาษาไทย ทั้งด้านอัตรากำลังและงบประมาณสนับสนุน ปัญหาที่ตัวผู้สอน ผู้สอนภาษาไทย บางคน
มิได้ศึกษามาโดยตรงทางภาษาไทย เป็นเพียงผู้พูดภาษาไทยและเป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดอ่อน
ที่ศาสตร์ทางภาษามิได้รับการเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนตรงสายวิชา และยิ่งกว่านั้น ในระดับอุดมศึกษายังมีเสียงสะท้อนว่าผู้สอนบางท่านมิได้แม่นยำทางภาษาไทย จึงมีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ เขียนหนังสือไม่ถูกต้อง ปัญหาเรื่องสื่อและนวัตกรรม
ทุกวันนี้การเรียนการสอนภาษาไทยยังมีข้ออ่อนด้อยเรื่องนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ และโดยเฉพาะ
ในช่วงการเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่มีการเรียนออนไลน์ที่จะต้องใช้สื่อเทคโนโลยี ซึ่งถ้าผู้สอนไม่มีความรู้หรือผู้เกี่ยวข้องจัดทำ จัดเตรียมที่เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพผู้เรียนลดลง
ดังนั้นทั้ง ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคงต้องถือเป็นวาระใหญ่ โดยแท้จริงที่จะทำให้เกิดการตระหนักรู้ว่านี่มิใช่เพียงการเรียนวิชาหนึ่งแต่แท้จริงแล้ว คือ การเรียนรู้ในเอกลักษณ์และวัฒนธรรม เห็นสังคมสำคัญเป็นความมั่นคงของชาติในที่สุดผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทัศนีย์ ทีปต์ธีรธรรม. (2557). ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก http://www.nsw.ac.th/news-detail_7262
ปัณณ์ พัฒนศิริ. (2564). COVID-19 Education Disruption: นัยต่อสังคมและเศรษฐกิจเมื่อโลกเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7695
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2565). Learning Losses in Covid กับภารกิจกู้คืนการเรียนรู้แห่งศตวรรษ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=KOnY22WIMnI
วุฒิพงษ์ คำเนตร. (2548). การจัดกิจกรรมตามแนวคิดการสร้างความรู้นิยมเพื่อส่งเสริมทักษะและนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาแบบอิสระ, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สยามรัฐออนไลน์. (2563). ใบประกอบวิชาชีพครู ความสำคัญของคนที่จะมาเป็นครูควรต้องมี. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/188036
Asian Development Bank. (2021). Learning and Earning Losses From COVID-19 School Closures in Developing Asia. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7695
ETS KMUTT. (2021). ทิศทางการปรับตัวของการศึกษาในยุค New Normal. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.ets.kmutt.ac.th/post/new-normal-in-thai-education
Johnson, D; Johnson Roger and Johnson, Holubec. (1993). Cooperative in the Classroom. Minnesota: Interaction Book.
Plook Education. (2016). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มุ้งเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/50096/-newedu-new.
World Bank. (2020). COVID-19 Could Lead to Permanent Loss in Learning and Trillions of Dollars in Lost Earnings. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7695