พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาปัญญา พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาปัญญา

Main Article Content

พระภัทรโภคิน ฐิตสาโร (พรมโคตร)
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ

บทคัดย่อ

พุทธจริยศาสตร์ใช้หลักการในพัฒนาปัญญา 3 ด้าน คือ กายภาวนา คือ การพัฒนาอินทรีย์ภายในอันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับสัมพันธ์ หรือเป็นทางเชื่อมต่อกับโลกภายนอก อันได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่ใจรับรู้ เปิดช่องทางที่เข้าไปสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ และทางธรรมชาติทั้งหมด การพัฒนาทางกายจึงเป็นการพัฒนาอินทรีย์ คือการฝึกให้มีอินทรีย์สังวร เพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดความแข็งแกร่งของศีล เพื่อสนับสนุนจิตให้มีพลังงานที่มั่นคงและเป็นทางให้เจริญปัญญาไปสู่จุดหมายสูงสุด สีลภาวนา คือการฝึกฝนอบรมตนเรียกว่า อธิศีลหรือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง หรือการฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา
ให้สงบเรียบร้อย ให้เกื้อกูลไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายตนเองและผู้อื่น เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจและทำให้กิเลสอย่างหยาบเบาบางลง ด้วยการควบคุมสังวร เป็นพื้นฐานในการพัฒนาชีวิตของตนให้พร้อมที่จะเป็นที่รองรับกุศลธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมทางจิตใจให้สูงขึ้น และจิตภาวนา คือการพัฒนาจิตหรืออธิจิตตสิกขาในไตรสิกขา เป็นการพัฒนาปัญญาโดยเน้นสมรรถภาพของจิต ได้แก่ การรวมเอาองค์มรรคข้อ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เข้ามาเพื่อฝึกฝนพัฒนาจิตหรือปัญญาให้เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ ควบคุมตนได้ดี มีสมาธิ มีกำลังใจสูง ให้เป็นจิตที่สงบ ผ่องใส เป็นสุข บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งรบกวน หรือทำให้เศร้าหมอง อยู่ในสภาพเหมาะแก่การใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้ปัญญาอย่างลึกซึ้งและตรงกับความเป็นจริง

Article Details

How to Cite
ฐิตสาโร (พรมโคตร) พ. ., & วงศ์พรพวัณ จ. (2022). พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาปัญญา: พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาปัญญา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 99–115. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/255049
บท
บทความวิชาการ

References

_______. (2533). พระอุปติสสเถระ. วิมุตติมรรค. กรุงเทพฯ: ศยาม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2540). พจนานุกรมไทย ฉบับอธิบาย 2 ภาษา. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ รุ่งนภา ตั้งจิตราเจริญกุล. (2554). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณธรรจริยธรรม ของคนไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ครีเอทิฟโทน.

บุญมี แท่นแก้ว และคณะ. (2532). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูสมเด็จเจ้าพยา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2541). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

เพ็ญแข บัวภา. (2554). พุทธิปัญญาในโกอานและภาพปริศนาธรรมเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม. (2551). การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Murray Thomas. (1990). The Encyclopedia of Human Development and Education Theory, Research, and Studies. United State of America: Bpcc Wheatons Ltd.