PIRACY AND ARMED ROBBERY AGAINST SHIPS IN ASEAN

Main Article Content

PhramahaWachirasak Khanachai

Abstract

การโจมตีและการปล้นเรือในท้องทะเล หรือ การกระทำอันเป็นโจรสลัดในยุคแรกเริ่ม ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงอันเป็นการละเมิดหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่บังคับเด็ดขาด (Jus Cogens) ที่ทุกรัฐสามารถใช้เขตอำนาจสากลเข้าปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีและลงโทษตามกฎหมายได้เช่นที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน การกระทำอันเป็นโจรสลัดในสมัยนั้นเป็นแต่เพียงการหาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือด้วยอาวุธ เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่บังคับเด็ดขาด (Jus Cogens) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายกฎหมายทะเล (UNCLOS 1982) กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของรัฐต่างๆในประชาคมระหว่างประเทศซึ่งรัฐทั้งปวงสามารถใช้เขตอำนาจสากล (Universal Jurisdiction) เข้าปราบปรามจับกุม และดำเนินคดีต่อโจรสลัดซึ่งเป็นอาชญากรรมสากล (Universal Crime) ได้ อย่างไรก็ดี การกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือด้วยอาวุธในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ยังคงเป็นภัยคุกคามทั้งต่อภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศโดยรวม และเป็นความท้าทายต่อประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนและประเทศนอกกลุ่มอาเซียนที่จะใช้กลไกทางกฎหมายระหว่างประเทศและกลไกความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปราม จับกุมและดำเนินคดีต่อโจรสลัดและโจรปล้นเรือเพื่อกำจัดภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ภูมิภาคอาเซียน และประชาคมระหว่างประเทศโดยรวมต่อไป

Article Details

How to Cite
Khanachai, P. . (2021). PIRACY AND ARMED ROBBERY AGAINST SHIPS IN ASEAN. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 8(3), 113–123. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/252963
Section
Academic Article

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2559). วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.

คณะทำงานด้านประชาคมอาเซียน ผู้แทนราษฎร. (2558). อาเซียนและความมั่นคงทางทะเล (ASEAN and Maritime Security). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภา.

คณะทำงานด้านประชาชมอาเซียน สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). อาเซียนและความมั่นคงทางทะเล (ASEAN and Maritime Security). สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/2558-asean.pdf

โครงการความมั่นคงศึกษา. (2555). ประชาคมอาเซียน: มิติด้านความมั่นคง. จุลสารความมั่นคงศึกษา, 103.

โครงการความมั่นคงศึกษา. (2561). ความมั่นคงทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. จุลสารความมั่นคงศึกษา, 197.

จตุรนต์ ถิระวัฒน์. (2555). กฎหมายระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นันทพร วรวุฒิพงษ์ (ผู้แปล). (2550). 100 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโจรสลัด โดย ริชาร์ด เทมส์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ประกอบ ประพันธ์เนติวุฒิ และ นิวัติ วุฒิ. (2555). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พฤดี หงุ่ยตระกูล. (2559). อาเซียนกับปัญหาอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารสังคมศาสตร์, 46(1), 79-102.

รนิษฐา นวลแก้ว. (2554). ปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจิรัตน์ จิตตานนท์. (2559). ภัยความมั่นคงทางทะเล : การกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือด้วยอาวุธ. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 5(1), 25-45.

วัลย์ลดา ลิ่มศิลา. (2554). ปัญหาและแนวทางการป้องกันปราบปรามโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธบริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน ประเด็นศึกษา : การพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดในภูมิภาคอาเซียน. รายงานโครงการพัฒนาบุคคลากรด้านประชาคมอาเซียนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.

อนิรัตน์ จินดา. (2551). ปัญหากฎหมายและความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในช่องแคบมะละกา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ASEAN Regional Forum Work Plan for Maritime Security 2018 - 2020. (2018). Retrieved on 29 March 2019, From http://aseanregionalforum.asean.org/wpcontent/uploads/2019/01/ANNEX-3-.pdf

Cheah, W.L., (2019). Maritime Crimes and the Problem of Cross-Border Enforcement: Making the Most of Existing Multilateral Instruments (2012). Retrieved on 10 March 2019, From https://ssrn.com/abstract=2207784,

Miha Hribernik. (2019). Countering Maritime Piracy and Robbery in Southeast Asia: The Role of the ReCAAP Agreement. Retrieved on 10 March 2019. From https://ssrn.com/abstract=2342274.

Pek Koon Heng. (2019). The 'Asean Way' and Regional Security Cooperation in the South China Sea. Retrieved on 10 March 2019, From https://ssrn.com/abstract=2540049

ReCAAP ISC. (2018). Piracy and Armed Robbery Against Ship in Asia. Annual Report 2018. Singapore: ReCAAP ISC.

The ASEAN Secretariat. (2009). ASEAN Political-Security Community Blueprint. Jakarta: ASEAN Secretariat.