กลวิธีการนำเสนอคำปรึกษาปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายชุดวัยแสบสาแหรกขาด

Main Article Content

ชมภูนุช ชมภูทิพย์
ปฐม หงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Research) จากนวนิยายวัยแสบสาแหรกขาดโครงการ 1 และ 2 เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลใน 7 กลุ่มปัญหา ได้แก่ ปัญหาครอบครัว “ตังเม” ปัญหาโดนคุกคามทางสื่อ “มินนี่” ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว “ลูกหวาย” ปัญหาความหลากหลายทางเพศ “ไออุ่น” ปัญหาเด็กออทิสติก “ใบพัด” ปัญหาติดเกม “บุ๊ค” และปัญหาความเครียดวิตกกังวล “วีหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากลวิธีทางเนื้อหาของปัญหาวัยรุ่นในการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น
ในนวนิยายเรื่องวัยแสบสาแหรกขาด 2. เพื่อศึกษากลวิธีทางวัจนกรรมที่ปรากฏในการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายเรื่องวัยแสบสาแหรกขาด 3. เพื่อศึกษากลวิธีทางถ้อยคำในการนำเสนอการให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายวัยแสบสาแหรกขาด
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลวิธีทางเนื้อหา ด้านโครงเรื่องมีตัวละครที่คล้ายกันและสอดคล้องกัน ได้แก่ มีอุปนิสัยเงียบขรึม ขาดความอบอุ่น กดดัน และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ทำร้ายตัวเองและผู้อื่นด้านแก่นเรื่องปัญหาของวัยรุ่นเกิดจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวเป็นหลัก ด้านบทสนทนาและฉากมีความสมจริง วิธีการสนทนาขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพของบุคคล และโอกาส 2) กลวิธีทางวัจนกรรม พบว่าผู้ให้คำปรึกษามีการใช้วัจนกรรมตรง เพื่อการเสนอแนะ แสดงความรู้สึก และสั่งการผู้ขอรับคำปรึกษา
และใช้วัจนกรรมอ้อมในการแฝงเร้นข้อความที่สะเทือนอารมณ์ แก่ผู้ขอรับคำปรึกษา 3) กลวิธีทางถ้อยคำพบว่าผู้ให้คำปรึกษามีการใช้กลวิธีด้านคำในระดับเดียวกันคล้ายกับวัจนกรรมอ้อม พบกลวิธีด้านประโยคกลวิธีการใช้สำนวนเฉพาะในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และพบกลวิธีการใช้ภาพพจน์ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ผู้ขอรับคำปรึกษาเกิดมโนภาพในใจ เปลี่ยนแปลงอารมณ์ เกิดกำลังใจ ความเชื่อ และทัศนคติที่ดี โดยทั้ง 3 ข้อ อภิปรายผลได้ว่า มีลำดับขั้นตอนคล้ายกันและสอดคล้องกันไป สามารถเรียบเรียง และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่นได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
ชมภูทิพย์ ช., & หงษ์สุวรรณ ป. . (2021). กลวิธีการนำเสนอคำปรึกษาปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายชุดวัยแสบสาแหรกขาด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 146–159. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/250639
บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2520). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ เจ.เอส. การพิมพ์.

ณัฐิยา ศิรกรวิไล. (2559). วัยแสบสาแหรกขาดโครงการ 1. บริษัท พิมพ์ดี สถาพรบุ๊ค.

ณัฐิยา ศิรกรวิไล. (2562). วัยแสบสาแหรกขาดโครงการ 2. บริษัท พิมพ์ดี สุนทรีย์แห่งรัก.

ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

นภาลัย สุวรรณธาดา. (2530). สำนวนโวหารในการสื่อสาร. ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่1-7 (หน้า 238-255). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปวิวัณณ์ คําเจริญ (2543.). นวนิยายรูปแบบจดหมายของไทย. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวภา มูลเจริญ. (2558). องค์ประกอบของนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2558. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 75-87.

วัลลภา วิทยารักษ์. (2557). พลังภาษา พลังความคิด: สัมฤทธิผลในการเขียน. วารสารวรรณวิทัศน์, 14(1), 37-57.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สายน้ำใจ.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัครา บุญทิพย์. (2535). การเขียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออกคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.