ศึกษาพุทธธรรมเพื่อสังเคราะห์เป็นรูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา : กรณีศึกษาวัดป่าเจริญราช อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ชมพู โกติรัมย์
พันยา เขียวบุญจันทร์
สุรีพร เขียวบุญจันทร์
สุปัญญา จันทร์ศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องศึกษาพุทธธรรมเพื่อสังเคราะห์เป็นรูปแบบเสริมสุขภาวะทางปัญญา : กรณีศึกษาวัดป่าเจริญราช อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ิอ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่สัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญา 2) ศึกษาสถานปฏิบัติธรรม ธรรมสถานวิมลธรรม และ 3) สังเคราะห์รูปแบบสุขภาวะทางปัญญาตามแนวพุทธ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกต และการสนทนาเพื่อให้ผลการวิเคราะห์
ข้อมูลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า หลักพุทธธรรมที่ความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญา ประกอบด้วยการพัฒนา (ภาวนา) การศึกษาเรียนรู้ (ไตรสิกขา) มรรควิธีแก้ปัญหาทั้งกาย (สังคม) และด้านจิต การบริหารจิตให้มีสติสามารถครองตนและด้วยปัญญา (สติปัฏฐาน) ซึ่งสรุปเป็นด้านการบริการกายเพื่อให้ชีวิตมีปกติทางกายภาพ และด้านจิตเพื่อรักษา สิ่งรบกวนจิต (นิวรณ์) ความฟุ้งซ่านด้านจิต สุขภาวะเป็นอาการของจิตมีความรอบคอบ (โยนิโสมนสิการ) ความเข้าใจรู้เท่าทันสภาวธรรม (ปัญญา) ซึ่งเป็นส่วนทฤษฎีเรียนรู้
ให้เกิดปัญญา และเป็นรูปแบบบริหารจิตจนเกิดภาวะสงบ ภาวะตื่นรู้ จึงเป็นสุขภาวะทางปัญญา และพบว่า สถานปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราชมีความเหมาะสมสำหรับบริหารจิต และได้สังเคราะห์พุทธธรรมที่สัมพันธ์กับ สติปัฏฐาน จัดเป็นรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้กับทางวัด ประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดสุขภาวะทางปัญญาสืบไป

Article Details

How to Cite
โกติรัมย์ ช., เขียวบุญจันทร์ พ. ., เขียวบุญจันทร์ ส., & จันทร์ศรี . ส. . (2021). ศึกษาพุทธธรรมเพื่อสังเคราะห์เป็นรูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา : กรณีศึกษาวัดป่าเจริญราช อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 120–133. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/249727
บท
บทความวิจัย

References

ดัง ตฤณ. (2561). มหาสติปักฐานสูตร. สมุทรสาคร: บริษัท โปรดักชั่น เพรส จำกัด.

______. (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

______. (2557). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

______. (2558). หลักการพิจารณาสภาวธรรม. (The Principle of Investigating the Natural Phenomenon) สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561 จาก www.suwannakam.com/

Word Health Organization (WHO). (1998). Retrieved 20 December 2020, from http://www.who.int/whr/1998/en/whr98_en.pdf (Retrieved setember, 2017).

นิธี ศิริพัฒน์. (2553). บทความที่ 5 ปฎิจจสมุปบาท. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.siripat.com/TheMatterOfLife_2011/E-The-Dependent-Origination.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2553). ). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร.

วิพุธ พูลเจริญ. (2544). สุขภาพ: อุดมการณ์และยุทธศาสตร์ทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สาโรช บัวศรี. (2553 ). รำลึกคุณูปการศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี.กรุงเทพมหานคร: สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและสังคมไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตจน์ด้านสังคม. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สุรพล ไกรสรวุฒิ. (2554). สติปัฏฐาน 4 ฉบับวิเคราะห์ – สังเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.