การศึกษาวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน 4

Main Article Content

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ (ประมวน พานิช)
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธญาณวิทยา (2) เพื่อศึกษาแนวคิดสติปัฎฐาน 4 และ (3) เพื่อวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฎฐาน 4 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวบรวม เรียบเรียงและบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พุทธญาณวิทยา เป็นทฤษฎีความรู้ในพระพุทธศาสนาที่จำแนกความรู้ ออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดแต่การคิดไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) 2) สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการสดับการเล่าเรียนจากภายนอกหรือจากกัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะ) 3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การสืบมาจากปัญญาทั้งสองแล้วนำมาฝึกอบรมลงมือปฏิบัติและนอกจากนี้พุทธญาณวิทยายังได้จำแนกความรู้ออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือความรู้ในรูปแบบของสมมติสัจจะคือความจริงที่ชาวโลกสมมติกันขึ้นมาใช้ในกลุ่มและความรู้แบบปรมัตถสัจจะคือความรู้ที่รู้ตามความเป็นจริงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นและดับไป
2. สติปัฎฐาน 4 เป็นฐานที่ตั้งของสติหรือการเข้าไปตั้งสติกำหนดพิจารณารู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นทางกาย เวทนา จิตและธรรม อันเป็นสภาวธรรมที่เป็นไปตามธรรมสามัญของธรรมชาติที่เกิดโดยมีสติเป็นตัวกำหนดรู้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อให้รู้เท่าทันความเกิดขึ้นและความเป็นไปของสรรพสิ่ง
3. พุทธญาณวิทยาในสติปัฎฐาน เป็นความรู้ที่เกิดจากกระบวนการของอายตนะภายในและภายนอกมากระทบกันจึงเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากจินตามยปัญญญา สุตมยปัญญาและภาวนามยปัญญาซึ่งปัญญาทั้ง 3 นี้มีความสืบเนื่องสัมพันธ์กันจึงเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดรู้สติปัฏฐาน 4 กล่าวคือ 1) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นทางกายในกาย 2) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นในเวทนา 3) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดในจิตตา และ 4) การกำหนดรู้สภาวะในธรรม

Article Details

How to Cite
(ประมวน พานิช) พ. จ. ., & วงศ์พรพวัณ จ. . (2021). การศึกษาวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 249–260. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/247653
บท
บทความวิจัย

References

จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ. (2560). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2532). มหาจุฬาฯ วิชาการ ปรัชญาบุรพทิศ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

บุญมี แท่นแก้ว. (2545). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 45). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2555). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาสน์ไทยการพิมพ์.

พระจำลอง สุภาจาโร. (2559). ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท: ศึกษาเชิงวิเคราะห์. วารสารพุทธมัคค์, 1(1), 17.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2543). ปรัชญาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รวมสาส์น.