AN ANALYTICAL OF BUDDHISM DOCTRINES IN THE SIEWSAVATH STORY LAOS LITERATURE AND THE INFLUENCE OF THE LAO PEOPLE'S WAY OF LIFE
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัย นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้วรรณกรรมลาวเรื่องเสียวสะหวาด 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมลาวเรื่องเสียวสะหวาด 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลวรรณกรรมเรื่องเสียวสะหวาดต่อวิถีชีวิตประชาชนชาวลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำราวิชาการ หนังสือ งานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งทำการวิจัยภาคสนาม โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งเป็นการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมลาวเรื่องเสียวสะหวาดเป็นหนังสือประเภทประพันธ์ร้อยกรอง ในสมัยก่อนจะนิยมเขียนเป็นร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว ซึ่งเป็นการบันทึกเรื่องราวชีวิตที่ผ่านกระบวนการที่ได้ปฏิบัติมาตลอดหลายชั่วอายุคน วรรณกรรมจะเกิดขึ้นตามสภาวะที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์เพื่อสนองความต้องการของจิตใจ จะเห็นว่าวรรณกรรมที่เขียนขึ้นนั้นมิได้มุ่งเพียงสุนทรียศาสตร์หรือความไพเราะเท่านั้น แต่วรรณกรรมยังสะท้อนให้เห็นถึงชีวิต และความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคนั้นๆ อีกด้วย เป็นที่เก็บอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของมนุษย์
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมลาวเรื่องเสียวสะหวาด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวลาวอย่างเด่นชัดในเรื่อง หลักปฏิบัติตนสำหรับการดำเนินชีวิต หลักการคบมิตร และธรรมชาติ การอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และจารีตประเพณีไว้เป็นจำนวนมาก วรรณกรรมเรื่องธรรมดาสอนโลกนี้พูดถึงหลักคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน เช่น หลักกรรม หลักการพูด หลักการคบมิตรเป็นต้น
อิทธิพลวรรณกรรมเรื่องเสียวสะหวาดต่อวิถีชีวิตประชาชนชาวลาว พระพุทธศาสนาเป็นแกนหลักสำคัญอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมสองฝั่งโขงมาตลอด ทำให้สังคมลาวมีหลักปฏิบัติอย่างมีระเบียบวินัยในด้านจารีตและประเพณีอันดีงามมาโดยตลอด จริยธรรมในด้านหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามุ่งสอนให้ทุกได้เห็นเรื่องกรรมดี ดังนั้น จึงตรงกับความต้องการของสังคมลาวที่ปรารถนาให้ตนเองพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก และเพื่อให้ตนเองได้รับความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า และก่อให้เกิดความสามัคคีธรรม พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างลึกซึ้ง