การพัฒนาการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาชุมชนสัมพันธ์ตามแนวทางหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ และ 3) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนและการสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการเสวนากลุ่ม (Focus group)
ผลการวิจัย พบว่า
- แนวทางการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน สร้างกิจกรรมพัฒนาตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของร่วมกันของคนในชุมชน โดยนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาบูรณาการกับความเชื่อ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน บนฐานการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและศักยภาพของชุมชน ดำเนินการในลักษณะเป็นข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้ 1) ทิศทางการพัฒนา 2) กิจกรรมการพัฒนา 3) เป้าประสงค์ และ 4) ข้อตกลงร่วมกัน
- หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่นำมาบูรณาใช้เป็นหลักในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและการสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ ได้แก่ สังคหวัตถุ 4, อิทธิบาท 4,พรหมวิหาร 4, ภาวนา 4, พละ 5, สาราณียธรรม 6, อปริหานิยธรรม 7 และสัปปุริสธรรม 7
- การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและการสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ ต้องดำเนินการในลักษณะความร่วมมือของชุมชนกับส่วนงานหรือองค์กรที่จะเข้าดำเนินงาน และจะต้องประสานการมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนกับส่วนงานภาครัฐในพื้นที่ซึ่งเป็นเครือข่ายในเชิงโครงสร้าง และองค์กรภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน รวมถึงกลุ่มหรือเครือข่ายการพัฒนาชุมชนอื่นที่มีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานความร่วมมือ และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
Article Details
How to Cite
อรัญญวาส ส. (2021). การพัฒนาการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์วิถีพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(1), 202–216. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243801
บท
บทความวิจัย