การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร และ 2) เป็นแนวทางในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีการดำเนินการวิจัย
4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ 2) วิเคระห์ด้วยเทคนิคเดลฟาย จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ จำนวน 21 คน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และ 4) วิเคราะห์ระดับการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 196 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิคเดลฟาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการบุคลากร ด้านการบริหารจัดการทั่วไป ด้านการบริหารจัดการวิชาการ และด้านการบริหารจัดการงบประมาณ
2. ระดับการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมาก
The purposes of the study were: 1) to determine the factors and indicators of management to the excellence of private schools in Bangkok; and 2) to present the management to the excellence of private schools in Bangkok. The research process consisted of four steps: 1) analyzed the documents concerning the management to the excellence; 2) interviewed a group of 21 management to the excellence experts; 3) to find factors of management to the excellence of private schools in Bangkok by factor analysis; and 4) evaluated the opinions of 196 school administrators, with a rating scale questionnaire. The analysis of the data was accomplished by computation of percentage, mean, standard deviation, median and interquartile ranges were also computed to test each of accordance postulated in the study and factor analysis. Based upon the findings of the study.
1. There are four factors to the composition of personnel management, general management, academic management and budget management.
2. The evaluation of administrators, teachers and basic education commissioner’ opinions were also at high level.