แนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐาน ประชาธิปไตยในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ
สุรเดช ไสยกิจ
วันทนีย์ แสนภักดี
กิตติพงษ์ พิพิธกุล
พีระพล ไทยทอง

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตย ในจังหวัดขอนแก่น 2) แนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยในจังหวัดขอนแก่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 40 คน ประกอบด้วย กลุ่มคนเสื้อสี จำนวน 14 คน เครือข่ายยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก จังหวัดขอนแก่น จำนวน 13 คน และกลุ่มชาวขอนแก่นรักในหลวง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview guide) เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) แนวทางการสังเกต (Observation guide) สมุดจดบันทึกภาคสนาม และกล้องถ่ายรูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Content Analysis)
             ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มคนเสื้อสีขอนแก่น ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การต่อต้านร่างพระราชบัญญัติการปรองดอง การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตร กรุงเทพฯ การร่วมรณรงค์และชุมนุมร่วมกับพันธมิตร การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมปี พ.ศ. 2550 การลงคะแนนเลือกตั้ง Vote No และการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบทบาทของคนเสื้อสี กลุ่มป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก และการช่วยเหลือแก้ไขเพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก โดยใช้หลักการประชาธิปไตย และมีการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก กลุ่มชาวขอนแก่นรักในหลวง ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การคัดค้านการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การต่อต้านการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 และต่อต้านร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ


 


             The objectives of this research were 1) to study the participation of civil politics through democracy in Khon Kaen and 2) to study the mean to promote civil politics through democracy in Khon Kaen. As a qualitative research, the 40 informant consisted of 14 shirted persons, 13 member of the Group for preventing and Solving the problem of violence againat  women and  children, and 13 members of Love the King Group in Khon Kean. The instruments for data collection included semi-structured interview from, interview guide, field notes and camera. The datas were content analysis
             The research found the following : 1) Regarding the participation of civil politics through democracy in Khon Kaen, the color-shirted people took part in the protection of the Monarchy, fight against Corruption, fight against the Reconciliation Bill, support the People’s Alliance for democracy (PAD) in Bangkok, joining PAD Campaigns and Rallies, fight against revision of 2550 Constitution, joining the Vote No campaign and distribution of information on the color-shirted people.  Group for preventing and Solving the problem of violence against women and children participated in civil politics by providing protection against such violence as well as by stopping it through democratic means. The Love the King Group fought against the attempts to revise or to abolish Civil Code no. 112, to revise the B.E. 2550 Constitution and to pass the Reconciliation Bill. 2) Regarding the mean to promote civil politics through democracy, suggestions included the following: continuation of organizing activities on political, economic and social issues; participation and learning, along with follow-up and evaluation. Such activities should be expanded to other areas as well.

Article Details

How to Cite
กฤษณะภูติ ว. ., ไสยกิจ ส., แสนภักดี ว. ., พิพิธกุล ก. ., & ไทยทอง พ. . (2018). แนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐาน ประชาธิปไตยในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 207–222. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243767
Section
Research Article

References

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. และคณะ (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ปัญหา อุปสรรค และ ทางออก. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : อัม รินทร์พริ้นตั้ง เอนด์ พับลิชชิ่ง. ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต. (2553). รัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ถม ทรัพย์เจริญ. (2523). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในประเทศไทย : กรณีศึกษา อ าเภอค าเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรม หาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). การเมืองภาคประชาชน. ออนไลน์.แหล่งที่มา : http://www. th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2554. ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2555). ขบวนการคนจนในสายตาอาจารย์นิธิ ข้อถกเถียงว่าด้วย การเมืองภาคประชาชน. มติชนสุดสัปดาห์. 15 มิถุนายน ประเวศ วะสี. (2555). การเมืองภาคพลเมือง. ออนไลน์. แหล่งที่มา : http://www.parliment.go.th. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2555.
วรรณวณัช ภักดีวุฒิ. (2552). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการยุติความรุนแรงใน การยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในครอบครัว : กรณีศึกษา ศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี ต ารวจภูธรภาค 4. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. สิริกร เชียรศรี. (2554). บทบาทการเมืองภาคพลเมืองประชาชนบนพื้นฐานประชาธิปไตย ของกลุ่มคนเสื้อเหลืองในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. เสน่ห์ นนทะโชติ. (2523). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในชนบทไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านวังคล้า อ าเภอเสิงสาง จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.