แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1) ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษาสำรวจสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 3) ศึกษาพหุกรณีที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายแล้วยกร่างแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 4) ตรวจสอบยืนยันแนวทางที่ได้ร่างขึ้น โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิและ 5) สรุปและรายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ในภาพรวมการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มีสภาพผลการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำได้ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
2. แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมพบว่า การมีส่วนร่วมมี 6 ขั้นตอน คือ การร่วมปรึกษาหารือ การร่วมวางแผน การร่วมตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติ การร่วมติดตามตรวจสอบ การร่วมประเมินผลและการร่วมในการปรับปรุงและพัฒนา ส่วนภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการนั้น ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
The objectives of this research were 1) to study the practices of participatory administration of academic work and 2) to develop guidelines for participatory administration of academic work of educational opportunity-extended schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 2. The research was conducted in steps as follows: 1) Review of related of literature and researches 2) Survey study of the practice of participatory administration of academic work of target schools, 3) Multi-case studies / interviews of best practice and drafting of guidelines 4) Review and suggestions for improvement by experts in a focus group discussion, and report. The research findings were as follows:
1. On the whole, the practice of participatory administration of academic work of the target Schools was rated moderate. Listed in the high-low order of the means, the aspects stood as follows: development of schools curriculum, development of internal quality assurance system, development of learning processes, measurement / evaluation and credit transfers, and development of learning resources.
2. AS for the guidelines for participatory administration of academic work, six steps of Participation were forend : consultation, planning, decision – making, practicing, checking, evaluation and action. At the same time 5 aspect of academic work were identified: development of school curriculum, development of learning processes. Measurement evaluation and credit transfers development of learning resources and development of internal quality assurance system.