การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชน ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

วสันต์ ศรีสะอาด

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน 3. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งตามแนวทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากพระภิกษุและประชาชนที่อยู่ในเขตในเขตภาคกลางตอนบน จำนวน 385 รูป/คน กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 รูป/คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย โดยใช้การสรุปความ และการตีความ แล้วนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ตามหลักอุปนัย 
               ผลการวิจัยพบว่า
              1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.01)  และรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก 1 ข้อ และปานกลาง 4 ข้อ คือ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ (= 3.43) รองลงมาคือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ (= 3.00) ตามด้วย ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม (= 2.93) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาจิตใจ (= 2.67)
              2.ผลการเปรียบเทียบการเสริมสร้างความเข็มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
              3. ข้อเสนอแนะในทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชน ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย พระสงฆ์ร่วมการจัดการศึกษาที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการใช้วัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านในการประกอบอาชีพ ควรการบรรยายธรรมะเมื่อมีงานบุญหรืองานประเพณีในหมู่บ้านและเทศนาสั่งสอนให้ชาวบ้านเข้าใจหลักธรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ดำเนินชีวิต
              4. แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชน ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะสามารถพัฒนาจัดการศึกษาที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างแท้จริง แต่การจัดระบบของพระสงฆ์ยังไม่เป็นระบบที่ได้มาตรฐาน อาจเป็นเพราะงบประมาณในการดำเนินการกับสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน จึงทำให้การดำเนินงานขาดช่วง และไม่มีการปฏิบัติที่ดีเพียงพอ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการใช้วัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลหมู่มาก สิ่งที่สร้างรูปแบบปฏิบัติที่จะทำให้พระสงฆ์มีจิตวิญญาณที่เกี่ยวกับสาธารณสงเคราะห์ได้นั้น พระสงฆ์ต้องผ่านการเรียนรู้ในด้านนั้นๆ พระสงฆ์ควรเพิ่มการสนับสนุนการจัดทำบุญตามประเพณีและให้คำปรึกษาแก่ชาวบ้านเกี่ยวกับบุญพิธีหรือประเพณีต่าง ๆ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถปฏิบัติตามหลักศาสนพิธีได้ถูกต้อง จัดอบรมปฏิบัติธรรมตามตามสถานศึกษา เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเยาวชนให้มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกวิธี


              The purpose of this research is to: 1. To study the role of strengthening the clergy as leaders in community development in the upper central region. 2. To compare the role of the strong monk leader. 3. To find a way to develop strengthened the Buddhist way of the Buddhist monks to lead. Community Development in Upper Central Region This research is quantitative and qualitative research. From the monks and the people in the upper central region, 385 persons / group. The target group provided 7 important data / persons for analyzing data from the interview and sub-group meeting. Using summary and interpretation, then present the data by descriptive analysis. Inductive
               The research revealed as follows :
                1. The strengthening of the monks leading the community development was at a moderate level (= 3.01) and the aspects of the activities were one level and 4 medium level. (= 3.43), followed by education (= 3.00), followed by religious education (= 2.93). Mental Development (= 2.67)
                2. Comparative study of the strength of the monks leading the community development in upper central region of Thailand by sex, age, education level, occupation, income per month The overall and individual aspects were not significantly different.
                3. Suggestions for the Strengthening of the Buddhist Leadership for Community Development In the upper central region of Thailand. Monks join the educational management that emphasizes the cultivation of morality to children and youth. Facilitating the establishment of the Sunday School of Buddhism, facilitating the use of the temple as a place of initiation and giving advice to the villagers in their occupation. It should be a lecture on merit when there are merit or village traditions and preaching to teach the villagers to understand the principles and can be applied to the benefits of living.
                4. Development guidelines for the strengthening of monks leading the community development. In the upper central region of Thailand. Most monks will be able to develop education that emphasizes the cultivation of morality to children and youth. This is truly a development of the nation. But the system of monks is not standardized. This may be because the budget for these actions is insufficient for the operation. The operation is lacking. And no good practice. And to facilitate people to use the temple as a place of charity will be beneficial to people. What creates a pattern that will make the priest have a spirit of public service. Monks need to learn through it. The monks should increase the support of the traditional merit making and advise the villagers on the merits, ceremonies or traditions so that the villagers can follow the proper rituals. Training by the school. To cultivate the moral and ethics of the youth to be virtuous in the way of life and correct the problems in the right way.

Article Details

How to Cite
ศรีสะอาด ว. . (2018). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำต่อการพัฒนาชุมชน ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 144–158. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243763
Section
Research Article

References

ไพบูลย์ เสียงก้อง. (2542). รายงานการศาสนา ประจ าปี 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ การศาสนา. กรมการศาสนา. (2541). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา. กลุ่มจังหวัด. (2560). กลุ่มจังหวัดภาคกาลาง.ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://wikipedia.org/wiki/กลุ่มจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560 ประยุทธ์ ปยุตฺโต. (2527). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : สยาม สมาคม. มาโนช ตัณวนิชย์.(2529). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาสังคมชนบทในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ.ส านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2522). บทบาทของวัดที่เคยมีและพึงมีต่อสังคมภาคใต้. สงขลา : มงคลการพิมพ์.