ประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Main Article Content

สุนทร สายคํา
พระอธิการบุญช่วย โชติวํโส
พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
สมปอง ชาสิงห์แก้ว

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์กับนิสิตปริญญาตรี  ปริญญาโทและปริญญาเอก
         กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 59 รูป/คน และนิสิตทุกระดับการศึกษา จำนวน 285 รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 344 รูป/คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  (Stratified Random sample) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ  (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับนิสิตปริญญาตรี จำนวน 36 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .439 - .828  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .969  ชุดที่ 2 สำหรับนิสิตปริญญาโท จำนวน 32 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง.325 - .736 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .948  ชุดที่ 3 สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอก จำนวน  29  ข้อ มีค่าอำนาจรายข้อระหว่าง .597 - .885 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .976  และชุดที่  4 สำหรับผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 97 ข้อ มีคุณภาพตามเกณฑ์ในชุดที่ 1-2 และ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบหาค่าที (t-test แบบ Independent sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA)  การทดสอบหาความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ    เชฟเฟ่ (Scheffe’ method) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
          ผลการวิจัย  พบว่า
          ประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในระดับปริญญาตรี โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยประสิทธิผลสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ตามลำดับ  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางปัญญา ในระดับปริญญาโท  โดยภาพรวมและรายด้านมีประสิทธิผลในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยประสิทธิผลสูงสุด  คือ  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  รองลงมา คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางปัญญา ส่วนในระดับปริญญาเอก โดยภาพรวมและรายด้านมีประสิทธิผลในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยประสิทธิผลสูงสุด คือ ด้านความรู้  รองลงมา  คือ  ด้านคุณธรรม จริยธรรมและด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ตามลำดับ  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางปัญญา
          ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์กับนิสิตระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดยภาพรวมและรายด้าน  มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่นิสิตทุกระดับการศึกษามีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลสูงกว่าผู้บริหารและอาจารย์


 


           The objectives of the research were to study and compare the effectiveness of the student development based on Thai Qualification Framework for Higher Education of Mahachulalongkornrajavidyalaya University at Khan kaen Campus, classified by the perception of the executives and instructors and bachelor-degree, master-degree, and PH.D-degree students.
           The total number of the research example group was 344, comprised of 59 executives and instructors, and 285 students of all level, and selected by using Stratfied Random Sampling Technic. The tools used were four sets of five-rating-scale questionnaires, first of which was for the bachelor’s degree students – comprised of 36 items with discrimination power of each item between .439 - .828 and set reliability of .969; Set 2 was for the master-degree students – comprised of 32 items with discrimination power of each item between .325 - .736 and set reliability of .948; Set 3 was for the PH.D-degree students – comprised of 29 items with discrimination power of each item between .597 - .885 and set reliability of .976; and Set 4 was for the executives and instructors students – comprised of 97 items with the set quality as of Set 1-3. The statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested by using Independent-sample t-test and One-way ANOVA F-test, Cheffe’ method was used to test the differences of each pair, and Descriptive analysis.
           The research revealed as follows :
           The effectiveness of the student development based on Thai Qualifications Framework for Higher Education the bachelor’s degree students as a whole and on each aspect was at high level. The aspect with the mean at highest level of effectiveness was Ethics and Moral; followed by Interpersonal Skills and Responsibility; Numerical Analysis, Communication and Informational Technology Skills, respectively. The aspect with lowest level  was Cognitive Skills. At master-degree level, as a whole and on each aspect was at most level. The aspect with highest level was Interpersonal Skills and Responsibility; followed by Ethics and Moral, Numerical Analysis, Communication and Informational Technology Skills, respectively. The aspect with lowest level was Cognitive Skills. At PH.D-degree level, as a whole and on each aspect was at highest level. The aspect with highest level was Knowledge,followed by Ethics and Moral, Numerical Analysis, Communication and Informational Technology kills, respectively. The aspect with lowest level was Cognitive Skills.   
           The results of the comparisons of the effectiveness on the student development based on Thai Qualifications Framework for higher education between the perception of the executives and instructors, and students on the bachelor’s degree, master-degree, and PH.D-degree students revealed significantly different as a whole and on each aspect, the perception of the students of all levels was higher than that of the executives and instructors.

Article Details

How to Cite
สายคํา ส. . ., โชติวํโส พ. . ., พระครูสโมธานเขตคณารักษ์, & ชาสิงห์แก้ว ส. (2018). ประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 130–143. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243762
Section
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ดวงพร ค าภูแสน. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบประสิทธิผลด้านกระบวนการ ของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราช ภัฎสกลนคร.
บุญชม ศรสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์ น. พระครูวิบูลย์ญาณานุสิฏ. (2557). ประสิทธิผลการบริหารกองทุนหลักประกันคุณภาพระดับ ท้องถิ่น อ าเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศษสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. (2558). เอกสารสถิติข้อมูล สารสนเทศ ภาคเรียนที่ 1/2558. ขอนแก่น : ฝ่ายทะเบียนสถิติ. ศุภวัฒน์ พิมพ์มีลาย. (2548). ประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาด ใหญ่ สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : ส านักงานอธิการบดี.