การพัฒนานวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาแนวพุทธในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สมควร นามสีฐาน
ทวีศิลป์ สาระแสน
ประยูร แสงใส

Abstract

              การพัฒนานวัตกรรมการสอนสังคมศึกษา ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การสอนสังคมศึกษามีสาระความรู้ที่เป็นพื้นฐานของสังคม ได้แก่ สาระวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม  สาระวิชาหน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม  สาระวิชาเศรษฐศาสตร์  สาระวิชาภูมิศาสตร์ และสาระวิชาประวัติศาสตร์  การจัดกระบวนการเรียนการสอนสังคมศึกษาจึงต้องทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ซึ่งอาจจะเป็นความคิด แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ โดยใช้หลักแนวทางการสอนแนวพุทธประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ร่วมกัน ซึ่งคุณลักษณะนวัตกรรมทางการเรียนการสอนจะต้องเป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการสอน เป็นสิ่งที่ใหม่บางส่วน เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลอง  สิ่งใหม่ที่นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่  นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนแยกออกเป็น 2  ประเภท คือ  นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมประเภทรูปแบบ เทคนิค และวิธีการสอน นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนด้านจิตพิสัย ได้แก่ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย โดยครูต้องสอดแทรกเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย  ทักษะด้านการเรียนรู้และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ใช้สื่อที่หลากหลายในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และสาระสำคัญในการดำรงชีวิตและการทำงานโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มีหลักการ คือ การระบุปัญหาการ กำหนดจุดมุ่งหมาย  การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ  การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม การทดลองใช้  การเผยแพร่  ซึ่งรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมมี 4 รูปแบบ  คือ การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ การเผยแพร่การใช้นวัตกรรม และการเผยแพร่แบบผสมผสานทั้ง 3 วิธี เข้าด้วยกัน


             The development of innovative teaching social studies. It is important for the 21st century teaching and learning process to teach social studies, including basic knowledge of the society, including the subjects of religion, morality, ethics, subject matter, civics, culture and social life. Economics Geography And history. The process of teaching social studies must always be new. It may be ideas, ideas, systems, patterns, methods, processes, media and techniques. The use of Buddhist principles in the application of innovative ideas together. Innovative teaching features must be new to teaching. It's something new. What is new in the trial process? New things to improve, trial and disseminate. Innovation in teaching and learning is divided into two categories: product innovation or invention. And innovations, styles, techniques, and teaching methods. In addition, there is an innovation that enhances the characteristics of the learner, such as discipline, honesty. Responsibility, Kindness, Wisdom Consumption in Thai Way Teachers must be prepared to live in the 21st century. New learning and inventive skills use a variety of media to organize the learning process. And the essence of living and working by using Buddhist principles. The development of teaching innovation is the principle of identifying problems. Set purpose Study limits The invention of innovation, the experiment, the dissemination, the format of dissemination of innovation, there are four types It is a publishing based on the use of supreme authority. Human relations Dissemination of innovation And all three combined methods.

Article Details

How to Cite
นามสีฐาน ส., สาระแสน ท. ., & แสงใส ป. . (2018). การพัฒนานวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาแนวพุทธในศตวรรษที่ 21. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 82–95. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243755
Section
Academic Article

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). แนวทางการมอบหมายการบ้านให้นักเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทยจ ากัด. ชนาธิป พรกุล แคทห์. (2545). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผูเรียนเปนศูนยกลาง. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ถนอมพร เหลาหจรัสแสง (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ส านักบริการเทคโนโลยี สารสนเทศ. ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรรมไทย. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุคส์พลับลิเคชั่น จ ากัด. พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550). หลักการวัดและประเมิลผลการศึกษา. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : เฮาส ออฟ เคอรมิสท. วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ สดศรี-สฤษดิ์วงศ์. ส าลี ทองธิว. (2545). การเผยแพรนวัตกรรมทางการศึกษาส าหรับผูบริหารและครูยุคปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนา ผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร : ราชบุรีธรรมรักษก์ารพิมพ์.