อายุสสธรรม : หลักธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต
ประยูร แสงใส
พระครูสิริปัญญาภรณ
นิติกร วิชุมา

Abstract

              บทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักอายุสสธรรมกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ก็คือ หลักอายุสสธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงข้อปฏิบัติที่เกื้อกูล แก่อายุเรียกว่า อายุสสะ หรืออายุวัฒนธรรม คือ ธรรมที่ช่วยให้อายุยืนมี 5 ประการได้แก่ 1) สัปปายการี สร้างสัปปายะ คือการทำในสิ่งที่สบายเกื้อกูลแก่สุขภาพ 2) สัปปาเย มัตตัญญู แม้ในสิ่งที่สบายนั้น ก็รู้ จักประมาณ ทำแต่พอดี 3) ปริณตโภชี บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย 4) กาลจารี ประพฤติตนให้เหมาะสมในเรื่อง เวลา เช่น รู้จักเวลา ทำถูกเวลา ทำเป็นเวลาทำพอเหมาะแก่เวลา และ 5) พรหมจารี รู้จักถือพรหมจรรย์ตามควร เป็นข้อปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้าน คือ ทางกาย ทางสังคม ทางจิต และทางปัญญา เชื่อมโยงวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม และถูกต้องตามกฎธรรมชาติเข้าอันเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตได้อย่างสอดคล้องกัน


          This academic paper has the purpose to study the integration of Ayussadhamma doctrine and life style of the elderly. The Ayussadhamma doctrine was the doctrine to show the practical rule which supported to the age.  Its called Ayussa or Ayussadhamma meant Dhamma to support long life. There were five things i.e. (1) suppayakari : Suppaya building i.e. do the comfortable thing to support good health (2) Sappaye Mattanyu : Even in the comfortable thing it should be moderate in eating, do as moderation (3) Parinatabhoji : Eat the easy thing to digest (i.e. chew) (4) Kalajari : Make it fit for time i.e. tactful person (5) Brahmajari : Follow a holy life, it was rule in accordance with the way to keep up good health of the elderly 4 aspects : body, social, mind and wisdom. It was the concept or practical principles linked with the way of good life style and in accordance with the natural law which the aim of life accordingly.

Article Details

How to Cite
มหาธมฺมรกฺขิโต พ. ., แสงใส ป. . ., พระครูสิริปัญญาภรณ, & วิชุมา น. . (2018). อายุสสธรรม : หลักธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 57–70. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243753
Section
Academic Article

References

คณะกรรมาธิการวิสามัญสวัสดิการผู้สูงอายุและการพัฒนาสังคม วุฒิสภา. (2534). รายงาน พิจารณาการศึกษาเรื่อง ปัญหาผู้สูงอายุและแนวทางการแก้ไข พ.ศ. 2534. กรุงเทพมหานคร : วุฒิสภา บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. (2538). พุทธธรรม (ฉบับขยายความ). กรุงเทพมหานคร : มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. . (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ . (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11), กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2540). จิตวิทยาผู้สูงอายุทุกช่วงวัย เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบส าหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ. อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2543). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามค าแหง.