แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย : กรณีศึกษา การสร้างพระพุทธรูป

Main Article Content

ปรีชา บุตรรัตน์

Abstract


               แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย กรณีศึกษา การสร้างพระพุทธรูป จากการวิเคราะห์ พบว่า แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย จะปรากฏผ่านความเชื่อ พิธีกรรม คือ การบูชาสถูปพระธาตุพนมด้วยข้าว พืชสวน พืชไร่ และอ้อนวอนขอให้ผู้ที่มาประกอบพิธีประสบแต่ความสำเร็จ สื่อถึงแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ในแนวคิดเรื่องพระธยานิพุทธเจ้าที่อยู่ในฐานะของสัมโภคกายคอยรับฟังและช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง แนวคิดเรื่องการบูชาสถูปเป็นมูลเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปและบูชาพระพุทธรูป การสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เป็นแนวคิดมาจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายตันตรยาน การสร้างพระทันใจ เป็นการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเฉพาะกิจ เป็นการสร้างอย่างมีวัตถุประสงค์ตามความเชื่อของชาวบ้าน


         According to Buddha statues for a reason that it analysis concept of Mahayana Buddhism appears in Thai society. It has the ritual is worshiped Phra That Phanom by, rice, horticultural crops, and pleading for those who attend the ceremony. This process mean to Buddhist of Mahayana Buddhism who is in the position of the consul, to listen and help all man from all suffering. The idea of worship is the cause of creating the Buddha statues, Phra Than Jai, which particular use for purpose is based on belief. In addition notion leads it by Mantrayāna.


Article Details

How to Cite
บุตรรัตน์ ป. . (2018). แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย : กรณีศึกษา การสร้างพระพุทธรูป. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(1), 18–30. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243750
Section
Academic Article

References

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. (2554). พระพุทธศาสนาแบบธิเบต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ส่องสยาม. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2526). วิถีแห่งมหายาน. กรุงเทพมหานคร : ลิ้นจี่การพิมพ์. บุณย์ นิลเกษ. (2526). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเพชรเกษม. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย. (2555). วิเคราะห์เรื่องพระพุทธรูปในฐานะปูชนียวัตถุของชาวพุทธ. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เพิ่มศักดิ์ วรรลยางค์กูร. (2546). วิถีธรรมวิถีไทย. กรุงเทพมหานคร : วังอักษร. วรรธนะ มูลข้า. (2545). ร่องรอยและอิทธิพลของคติพุทธศาสนามหายานที่มีต่อความเชื่อ และพิธีกรรมพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สุรชัย ชินบุตร. (2557). สัญลักษณ์ข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนมในพิธีถวาย ข้าวพืชภาคและเสียค่าหัว. วารสารไทยศึกษา, 9 (2), 161-189. สมภาร พรมทา. (2540). พุทธศาสนามหายานนิกายหลัก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.