สิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
Abstract
สิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา ได้แก่ สิทธิที่ตนเองจะพึงได้รับจาก การกระทำของตนเอง ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมคือกฎของธรรมชาติ ที่เป็นทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นฝ่ายดีเรียกว่ากุศล ถ้าเป็นฝ่ายชั่วเรียกว่าอกุศล กุศลและอกุศลนี้เองที่เป็นสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา เป็นผลของการกระทำที่ผู้กระทำแล้วจะต้องได้รับ ตามสมควรแก่เหตุที่กระทำกรรมนั้น อย่างเท่าเทียมกันของคนทุกคน ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหลักธรรมที่เป็นฝ่ายขัดขวางสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ความตระหนี่ ความลำเอียง จึงปฏิบัติต่อชุมชนผิดพลาด หลักธรรมทั้งที่เป็นฝ่ายส่งเสริมสนับสนุนสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ไม่เบียดเบียนกันทำลายกันทั้งชีวิตและทรัพย์สิน (หลักมนุษย์สากล) หลักพรหมวิหารธรรม (ความรักสากล) หลักอธิปไตยได้แก่ การถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นใหญ่ และหลักสังคหวัตถุได้แก่ การรู้จักเอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม
Religious human rights including individual rights for those must receive from their own actions under the terms of the law of karma. Karma is the law of nature as what goes around comes back around. If you are in a good side, this is called Kusol (Pāli: Kusala: wholesome) but if you are in a bad side, it is called (Pāli: Akusala: unwholesome). These are Buddhist human rights as a result of the actions that the persons must be obtained equally. In accordance with Buddhism consists of the principles that thwart human rights, namely frugality and partiality. The principle that supports human rights, namely not encroach on each other (general human, Promvihadham (Pāli: Brahmavihāradhamma: the four noble sentiments, and sovereignty principle including holding uprightness and Sanghavuttu (Pāli: Saṅgahavatthu: objects of sympathy).
Article Details
References
พระราชธรรมนิเทศ ระแบบ ฐิตญาโณ. (2537). นิเทศธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ธีรพงษ์การพิมพ์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. สมชาย กษิติประดิษฐ์. (2544). สิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก. (2541). มนุษยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2535). เบญจศีลเบญจธรรม เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 29). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. แสง จันทร์งาม. (2544). ประทีปธรรม. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ธีระการพิมพ์.