สัมมาทิฐิ : หลักธรรมที่สำคัญต่อผู้มีอำนาจ

Main Article Content

ชาตรี อุตสาหรัมย์
วุฒินันท์ กันทะเตียน

Abstract

                การเป็นผู้มีอำนาจไม่เพียงแต่จะใช้อำนาจ แต่ต้องรู้จักการใช้อำนาจอย่างถูกต้อง ซึ่งรูป แบบและแนวทางของผู้มีอำนาจพึงมีนั้นต้องอาศัยสัมมาทิฐิ อันมีความสำคัญต่อผู้ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเห็นชอบ มีความเห็นตรง มีความเข้าใจถูกต้อง ผู้ที่มีความเห็นถูกย่อมมีปัญญา สัมมาทิฐินั้นเป็นแกนนำให้รู้ถึงทิฐิอื่นตามมา และสามารถแยกแยะว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี สัมมาทิฐิคือความเห็นชอบที่มาก่อนความเห็นอื่นได้แก่ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ การกระทำที่ชอบอื่นๆดังพุทธพจน์ที่กล่าวถึงสัมมาทิฐิว่า เปรียบเสมือนสารถี และชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนรถที่กำลังแล่นไป โดยไม่สามารถแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางเองได้  หากผู้ขับรถมีความเฉลียวฉลาดโดยอาศัยสัมมาทิฐิ ย่อมพาไปสู่ทิศทางที่ดี สัมมาทิฐิจึงเป็นเหตุให้กุศลธรรมอื่นๆเกิดขึ้น เพราะความเห็นหรือทิฐิเป็นจุดเปลี่ยนแปลง ที่อาจนำวิถีชีวิตไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อมก็ได้  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิแบ่งได้เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สภาพ แวดล้อมภายนอกคือ ปรโตโฆสะที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมชีวิตของบุคคล การขัดเกลาทางสังคม และปัจจัยภายในทำให้เกิดสัมมาทิฐิ (โยนิโสมนสิการ) คือการกระทำที่ถูกต้องถูกทาง ได้แก่รู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-ว่าไม่เที่ยง รู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์-ว่าเป็นทุกข์ เป็นต้น


             การเป็นผู้ที่มีอำนาจที่พึงประสงค์  จึงต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฐิอันประกอบปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ โดยทั้งสองปัจจัยนี้ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยสัมมาทิฐิประกอบด้วยปัจจัยของปรโตโฆสะ คือวิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธาและการมีศรัทธาเป็นสำคัญ  โยนิโสมนสิการเป็นการกระทำจิตใจให้แยบคายซึ่งอยู่ในส่วนของปัญญา 


 


             To be a authorit, it is not only use the power that you have but to use the power in the right way.The important thing is this authorit should have Sammaditthi, that will make them to have the right thought and right understanding as the educted one. Sammaditthi is lead of every ditthi and known what is right, what is wrong. Sammaditthi is a lead opinion of Sammasankappa Sammavaca Sammakammanta Samma-ajiva  Sammavayama  Sammasati Sammasamadhi. Sammaditthi likes a driver and human’s life likes a driven car that cannot goto the destination by itself without the good driver who has sammaditthi. Kusala-kamma comes from Sammaditthi become opinion or ditthi leads people to either good or bad Sammaditthi comes from two factors consist of external and internal factors. Exterternal factors can devided into 2 levels, first external environment is Paratokosa that affect to human’s life and social. internal factor that leads Sammaditthi(or Yonisomanasikarn) is doing the right way,knowing certainty and uncertainty.


             The authority is desirable.Therefore, Sammaditthi is including Paratokosa and Yonisomanasikarn. Both  factors will support each other.Sammaditthi have factor of Paratokosa.Paratokosa is the beginning of faith, to have faith is important. 

Article Details

How to Cite
อุตสาหรัมย์ ช. ., & กันทะเตียน ว. . . (2017). สัมมาทิฐิ : หลักธรรมที่สำคัญต่อผู้มีอำนาจ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(2), 16–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243737
Section
Academic Article

References

ดาณุภา ไชยพรธรรม. (2537). 10 บุรุษผู้เปลี่ยนแปลงโลก. นนทบุรี : อมรินทร์บุคเซ็นเตอร์. ปรีชา ช้างขวัญยืน (2557). ธรรมรัฐ-ธรรมราชา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ อักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต. (2556). กาลานุกรม. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ ผลิธัมม์. พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์พ ริ้นท์ติ้ง จํากัด. พระโมคคัลลานะเถระ รจนา พระมหาไพโรจน์ญาณกุสโลและคณะแปล. (2559). คัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกา. กรุงเทพมหานคร : หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : นามี บุคพับลีเคชั่นส์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : บุคพับลีเคชั่นส์. ลิขิต ธีระเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2556). พระโอวาทภาค 100 บทพระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาจัดพิมพ์. หลวงวิจิตรวาทะการ (2477). จารึกพ่อขุนรามคําแหง ฉบับหลวงวิจิตร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระจันทร์. The John F.kennedy Foundation in Thailand. (1996). Marriam-Webster‘s Collegiate Dictionary. USA : Marriam-Webster.