พัฒนาการอธิบายความหมายของศีล 5

Main Article Content

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน
มนตรี สิระโรจนานันท์

Abstract


              บทความนี้นำเสนอพัฒนาการอธิบายความหมายของ “ศีล 5” จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคพุทธกาล ความหมายจะตรงไปตรงมา สู่ยุคสมัยกรุงสุโขทัย มุ่งถึงผลในชาติหน้ามากกว่าปัจจุบันขณะมีชีวิตอยู่ ส่วนยุครัตนโกสินทร์สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะอธิบายความหมายในลักษณะประนีประนอม ผ่อนปรน แต่ไม่ให้เดือดร้อนผู้อื่น 


          พัฒนาการอธิบายความหมายของ “ศีล 5” เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เพื่อประโยชน์ เพื่อความสงบสุขของส่วนรวม ตลอดจนเพื่อแก้ปัญหา การพัฒนาประเทศชาติ และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา  


 


          This paper presents the development explained the meaning of "five precepts" of the past to the present. Since Buddha era the meaning is straightforward.  The Sukhothai era aims to the next life more present. Rattanakosin period of King Mongkut Rama IV and King Chulalongkorn Rama V meaning of "five precepts" given to compromise and do not trouble others.


         Development of the definition of " five precepts " has change by the social conditions for peace of collective as well as to solve the problem, National development and for the prosperity of Buddhism.


Article Details

How to Cite
อุ่นเจ้าบ้าน ว. . ., & สิระโรจนานันท์ ม. . (2017). พัฒนาการอธิบายความหมายของศีล 5. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(2), 1–15. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243736
Section
Academic Article

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). แนวทางการดําเนินงานโครงการ หมู่บ้าน รักษาศีล 5 : ชาวประชาเป็นสุข ในดําริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด. พระครูสังวรสมาธิวัตร ประเดิม โกมโล. (2519). โลกและชีวิต จาก บทเรียน ไตรภูมิพระ ร่วง”. กรุงเทพมหานคร : โกมลการพิมพ์. พระเทพดิลก ระแบบ ฐิตญาโณ. (2534). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจาก นวโกวาท. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ. (2549) คู่มือพ้นทุกข์ ในวาระชาตกาล 100 ปี ท่านพุทธ ทาส. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2540). นิติศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จํากัด. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จํากัด. พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง. พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2546). พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม. บทความ ทางวิชาการ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พุทธทาสภิกขุ. (2534). คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2548). ศีลห้า ฉบับคู่มือรักษาใจ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ อมรินทร์.