Emptiness Empty Mind

Main Article Content

PhraNatthawut Sirichanto
Phrakru Sudhikhamphirayana

Abstract


             หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ความว่าง จิตว่าง (Buddhadasa-Bhikkhu, 2006) เป็นหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ จัดพิมพ์เผยแผ่โดยธรรมสภา เป็นหนังสือที่ทางทางคณะผู้จัดพิมพ์ได้จัดทำขึ้นเพื่อรักษาต้นฉบับที่ถูกต้องและสมบูรณ์ เป็นธรรมสักการะในมงคลกาล  100 ปี ท่านพุทธทาส พ.ศ. 2549


             เนื่องจากสังคมมนุษย์ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมแห่งวัตถุ เป็นสังคมแห่งเทคโนโลยี เพราะหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป เนื่องจากความคิดของมนุษย์เกิดการพัฒนาและก้าวไกลไปอย่างมาก วัตถุต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็น รถ เครื่องบิน สำหรับการเดินทาง เครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้า ต่าง ๆ สำหรับทำอาหาร พัดลม แอร์ สำหรับทำความเย็น เมื่ออากาศร้อน โทรศัพท์ โทรทัศน์เหล่านี้เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง แต่กระนั้นก็ไม่ได้ทำให้มนุษย์นั้นมีความสุขมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา มิหนำซ้ำ ยิ่งทำให้มนุษย์มีความทุกข์มากกว่าเดิม เพราะส่วนหนึ่งมนุษย์พึ่งพาอุปกรณ์เทคโนโยลีเหล่านี้มากเกินไป มากเกินที่อาจจะกล่าวได้ว่าเมื่อไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วมนุษย์ก็ไม่สามารถทำกิจการงานต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งไม่อาจใช้ชีวิตอยู่ได้ ถ้าหากขาดสิ่งเหล่านี้


             เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกมีมากขึ้น ยิ่งทำให้มนุษย์เกิดความอยาก เกิดความหลง ที่จะหาทุกวิถีทางที่จะได้มันมา อาจจะด้วยการทำงานหนักเพื่อให้ได้เงินเยอะ ๆ สำหรับสิ่งที่ตนอยากได้ บางคนถึงกับต้องปล้น ชิง วิ่งราว ลักขโมย ของผู้อื่น เพื่อความต้องการของตน จากสิ่งของเล็ก ๆ เมื่อเคยทำแล้วก็ติดเป็นนิสัย มันได้มาง่ายเหลือเกิน จากของเล็กก็กลายเป็นของใหญ่ จนรวมกันเป็นกลุ่ม เป็นคณะ ทำให้สังคมมนุษย์เกิดความวุ่นวาย นับวันยิ่งรุ่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสิ่งของเหล่านี้ทำจิตใจของมนุษย์เกิดความอยาก เกิดความวุ่นในจิต จิตของมนุษย์ก็เลยไม่ “ว่าง” อวิชชาจึงเข้าครอบงำ หาทางออกไม่เจอ เพราะจิตไม่ว่าง


             จากการศึกษาถึงเรื่องของหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการพ้นทุกข์ เพื่อการแก้ปัญหาจากแหล่งต่าง ๆ  ทำให้สนใจที่จะศึกษาถึงเรื่องของ “ความว่าง” “จิตว่าง” ในการที่จะนำมาปรับประยุกต์แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งในหนังสือของท่านพุทธทาสเล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมการเทศน์ของท่านในสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านได้แสดงไว้ โดยกล่าวถึงเรื่องของ ความว่า จิตว่าง โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะเป็นธรรมชั้นสูงแต่ท่านก็ได้นำมาถ่ายทอดในรูปแบบของท่านเพื่อให้ปุถุชนคนธรรมดาอย่างชาวบ้านได้เข้าใจ ปฏิบัติได้และเห็นได้ในปัจจุบัน เพราะปัญหาเกิดได้กับทุกคน เมื่อจิตใจของคนเรานั้นวุ่นวายอยู่ ก็จะไม่สามารถที่จะมองเห็นทางออก หรือวิธีการที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ เปรียบได้กับคนที่กำลังหลงอยู่ในเขาวงกตเขาไม่สามารถหาทางออกได้ มองไปทางไหนก็มีแต่ทางตัน เพราะมันซับซ้อนมาก แต่ถ้าบุคคลฉลาดปีนขึ้นไปอยู่บนที่สูงเขาก็จะมองเห็นทุกอย่างได้กว้างไกล สามารถคำนวณทิศทางได้ว่าทางไหนจะเป็นทางออก เช่นเดียวกับคนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ ถ้าจิตใจยังวุ่นวายอยู่ การหาทางออกสำหรับปัญหานั้นก็จะมืดมน ปัญญาก็ตีบตันคิดอะไรไม่ออก หากเดินออกมาจากปัญหานั้น ทำจิตใจให้ว่าง แสงสว่างก็จะเกิด ปัญญาก็จะตามมา ทำให้สามารถหาทางออกสำหรับปัญหานั้นได้


             ผู้วิจารณ์จึงสนใจที่จะนำหนังสือของท่านพุทธทาสที่เกี่ยวกับเรื่องของ ความว่าง  จิตว่าง วิจารณ์เพื่อให้เห็นถึงทัศนะคติ หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เห็นถึงเป้าหมายที่แท้จริงของหลักธรรมที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้มาและนำมาสั่งสอนมวลหมู่มนุษย์ทั่วโลก เพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ เกิดสันติ สงบสุขทั่วทั้งโลก


Article Details

How to Cite
Sirichanto, P. ., & Phrakru Sudhikhamphirayana. (2019). Emptiness Empty Mind. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(1), 446–456. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243690
Section
Book Review

References

Buddhadasa-Bhikkhu.(2006). EmptinessEmpty mind. Bangkok: Thammasapa.
________. (1966). Buddhism Is Empty. Bangkok: Thammasapa.
________. (1 9 7 6 ) . Look Around TheEmptiness. SuratThani : Dhammadana
Foundation.
Bunchua, K. (2 0 0 4 ) . Paradigms with interpretation. Bangkok : St. John's
University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1 9 9 6 ) . Thai Tripitaka.
Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Publishing House.
Datnakarin, M. (2 0 1 3 ) .Buddhadasa : Theravada Buddhism and Modernist
Reform in Thailand. Bangkok: V.Prin.
Wachsuwan, A. (1 9 8 4 ) . The debate Pramoj, K. and Buddhadasa-Bhikkhu.
Bangkok: PhraPittaya.