การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพรจุลจอมเกล้า

Main Article Content

อรรฆพร ประชานุรักษ์
ปรีชา วิหคโต

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าวิธีวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นคือขั้นที่ 1 การกำหนดวิเคราะห์รูปแบบแนวคิดในการวิจัยโดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์โดยสอบถามสภาพปัจจุบันการสร้างความรู้การแลกเปลี่ยนความรู้การจัดเก็บและรวบรวมความรู้และการประเมินความรู้จากประชากร 45 คนด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากApplication ใน Google Formขั้นที่ 3 การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์โดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาแนวคิดทฤษฎีการสื่อสาร(SMCR) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่านประเมินรูปแบบโดยตรวจสอบความเหมาะสมความถูกต้องความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์


               ผลการวิจัย พบว่า(1) ลักษณะรูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษา ของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงานการจัดการความรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความรู้(KM1)การแลกเปลี่ยนความรู้(KM2)การจัดเก็บและรวบรวมความรู้(KM3)และการประเมินความรู้(KM4)และองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งของสารหรือผู้ส่งสาร(S)ด้านข้อมูลข่าวสาร(M) ด้านช่องทางในการส่งสาร(C)และด้านผู้รับสาร(R) ซึ่งได้รูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นแผนผังการไหลของงานแบบหน้ากระดาน โดยในรูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาได้นำแนวคิดดิจิทัล4.0 มาใช้ในองค์ประกอบ 4 ด้านเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูล (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 9 ท่านด้วยเกณฑ์ประเมิน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับความเหมาะสม(=4.70)ระดับความถูกต้อง(=4.78) ระดับความเป็นไปได้(=4.59) และระดับความเป็นประโยชน์(=4.70) อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งทำให้รูปแบบการจัดการความรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาเหมาะสมในการนำมาใช้ปฏิบัติจริง

Article Details

How to Cite
ประชานุรักษ์ อ. ., & วิหคโต ป. . (2019). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของกองวิชาคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพรจุลจอมเกล้า. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 388–403. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243686
บท
บทความวิจัย

References

BerloDavid Kenneth. (1960). The process of Communication. New York :
Holt, Rinehert and Winsons, Inc.
Office of the Higher Education Commission. ( 2010). A Guide to Quality
Assurance in Higher Education Institutions 2010. Bangkok :
Parbpim.
Office of Quality Assurance in EducationChulachomklao Royal Military
Academy. (2017). Educational Quality Assurance Manual
Chulachomklao Royal Military Academy, 2016 (Update 2017).
Chulachomklao Royal Military Academy.
PipatPradubpetch. ( 2 014) . Developing a Knowledge Management Model for
Internal Quality Assurance in Educational Opportunity Expansion
Schools. Graduated School: Educational Administration and
Developmrnt.Mahasarakham University.
Tippayawan Niltaya, SaritpongLimpisthian and Annop Jeenawatand
ChumsakIntharak. ( 2016) . Development of Knowledge
Management Model for Quality Assurance in Education at Princess
of NaradhiwasUniversity.Parichart Journal. 29(2), 131-153.
Tisana Khammani. ( 2004). Educational Research.Bangkok: Printing of
Chulalongkorn University.
Pannee Suanpang. ( 2009). Information Technology and Innovation for
Knoeledge Management. Bangkok: Se-education Public Company
Limited.
Waro Pengsawat. (2009). Research and Development. SakonNakhon Rajabhat
University Journal. 1(2), 1-12.