กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขา ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10

Main Article Content

พระครูสิริพัฒนนิเทศก์
ธีรภัทร โคตรบรรเทา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 40 รูป และครูผู้สอน จำนวน 184  รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่  (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNIModified)


ผลการวิจัยพบว่า 


1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมรายด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.61, S.D. =.82) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.60, S.D. =.85)


เมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI modified โดยรวมทุกด้าน มีค่า PNI =.27 ส่วนประเด็นที่มีความต้องการจำเป็นในระดับต่ำ ได้แก่
ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวัดผลและประเมินผล (PNI =.25) เป็นจุดแข็งของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10


             2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10 มีกลยุทธ์ 5 ด้าน 32 ตัวบ่งชี้ ได้แก่


                 1. ด้านการพัฒนาหลักสูตร 7 ตัวบ่งชี้


                 2. ด้านการจัดการเรียนการสอน 7 ตัวบ่งชี้ 


                 3. ด้านการนิเทศการสอน 6 ตัวบ่งชี้


                 4. ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยี 7 ตัวบ่งชี้


                 5. ด้านการวัดผลและประเมินผล  5 ตัวบ่งชี้

Article Details

How to Cite
พระครูสิริพัฒนนิเทศก์, & โคตรบรรเทา ธ. . (2019). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขา ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 181–193. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243661
บท
บทความวิจัย

References

Chaiyasit Chaleommiprasert. (2002). The latest situation of new budgeting
systems. Journal of Social Sciences ( Chulalongkorn University) ,
33(2), 83-143.
Chaiyot Paiwitthayasiritham. (2016). A NeedsAnalysis to Developthe
Graduate School of Silpakorn University. Veridian E-Journal
(Silpakorn University), 9(1), 1-16.
Dilok Boonruangrod. (1991). Educational planning. Bangkok : Office of the
Basic Education Commission.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for
Research Activities. Educational and Psychological Measurement,
30(3), 607-610.
Office of The Public Sector Development Commission. (2 0 0 5 ) . Change
Management: Self-learning toolkit. Bangkok: k polpim publishing.
Suwimol Wongwanit. (2007). Needs assessment research. Bangkok :
Chulalongkorn University.
Tisana Khammani. (2017). Form of teaching: various options. ( 9 th ed.) .
Bangkok : Chulalongkorn University