กระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีขวัญเมือง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กมลชนก นรินทร์
สังเวียน ปินะกาลัง
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูสอนวิชาภาษาไทยจำนวน 1 คน  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน  20 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบวัดเจตคติ กล้องบันทึกวีดีทัศน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ของครู สัมภาษณ์ครูและนักเรียนและใช้ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดเจตคตินักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากโพรโทคอลและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในรูปแบบของการบรรยายวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบวัดเจตคตินักเรียนโดยใช้สถิติพรรณนา


                ผลการวิจัยพบว่า 1.กระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 โรงเรียนศรีขวัญเมือง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  มีทั้งหมด 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเตรียมการจัดการเรียนรู้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การประเมินผลการเรียนรู้  4) การส่งเสริมการเรียนรู้  2. นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 มีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย ระดับค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 3.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.05

Article Details

How to Cite
นรินทร์ ก., ปินะกาลัง ส. ., & อินทร์ประสิทธิ์ น. . (2020). กระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีขวัญเมือง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 201–212. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/242411
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินคา้และพัสดุภัณฑ์์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุญชรี ค้าขาย. (2544). จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

จิตราภรณ์ พงษ์มาลี. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของครูกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ปรเมศร์ กลิ่นหอม. (2552). องค์ประกอบของพฤติกรรมและการสร้างแรงจูงใจ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://hbdkru.blogspot.com/2010/11/3.html

สาวนี สุขพันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. บัณฑิตศึกศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.