METHOD OF TEACHER TO DEVELOP INSTRUCTIONAL INNOVATION IN THAI LANGUAGE FOR GRADE 10 STUDENTS
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายของการศึกษาได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 5) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์โพรโทคอล (Protocol) และวิเคราะห์เชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ครูมีแนวทาง ในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1)
ครูผู้สอนได้สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดย พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ศึกษาหลักสูตร เนื้อหา และเนื้อเรื่องที่สอน ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา ศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและระดับความต้องการในขณะนั้น กำหนดแนวทางการพัฒนา และประเมินคุณภาพนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2)เมื่อครูผู้สอนได้กรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมแล้ว ครูผู้สอนได้นำมาวิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหา วิเคราะห์เวลาที่ใช้ และวิเคราะห์ผู้เรียน 3)ครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยพิจารณากำหนดวิธีการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ ด้วยการจัดลำดับเนื้อหากำหนดเวลาการนำเสนอและกิจกรรม โดยแบ่งประเภทการเรียนรู้และระดับการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ การรับข้อมูลและเนื้อหาความรู้จากสิ่งง่ายไปสู่สิ่งยากอันเป็นการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ทักษะพิสัย (Psycho-motor) คือ การเรียนรู้ที่แสดงออกในด้านทักษะและความสามารถทางด้านบังคับกลไกของร่างกายในการปฏิบัติงานต่างๆ และจิตพิสัย (Affective) คือ การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ความรู้สึก 4)ครูผู้สอนกำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยการนำเอาวัตถุประสงค์มาเป็นกรอบกำหนดคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน พิจารณาคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพของการรับรู้ของผู้เรียน 5)ครูผู้สอนได้สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย (ชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102) โดยสำรวจทรัพยากรที่จำเป็นได้แก่ สำรวจบุคลากร สำรวจเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ สำรวจงบประมาณ และสำรวจสถานที่ 6)ครูผู้สอนได้ออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย (ชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102) โดยคำนึงถึงความสำคัญกับหลักการและทฤษฏีต่างๆ ได้แก่ หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา หลักการออกแบบ หลักการสื่อสาร และหลักการเรียนรู้ 7)ครูผู้สอนมีการวางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย (ชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102) โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับขั้นตอนต่างๆ มีหลักการดำเนินงาน หรือกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และการดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ 8)ครูผู้สอนได้ตรวจสอบคุณภาพวิธีการของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย (ชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102) เพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพมีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งได้ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102 ที่พัฒนาออกมาให้เป็นที่ยอมรับด้วยการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องกับการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง และ 9)เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ผลการวิจัยพบว่าครูผู้สอนมีการสรุปและประเมินผลการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย (ชุดแบบฝึกทักษะ ชุดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท 31102) จำนวน 7 เล่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณานำนวัตกรรมการเรียนรู้มาใช้ โดยมีหลักการพิจารณา 4 ประการ คือ มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล มีความประหยัด และมีคุณลักษณะที่ดี และผลจากการวัดเจตคติในการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับสูงทุกด้าน ซึ่งด้านที่สูงที่สุดคือ ด้านผลจากการเรียนวิชาภาษาไทย รองลงมาคือ ด้านเจตคติต่อครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และสุดท้ายคือด้านเจตคติที่มีต่อวิชาภาษาไทย
คำสำคัญ : แนวทาง,นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย,เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.