พลวัฒน์การปรับตนของชนไทดำบ้านนาป่าหนาดในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเลย

Main Article Content

พระครูอินทสารวิจักษ์ อินฺทสโร (กิจไร่)
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชนไทดำบ้านนาป่าหนาด (๒) เพื่อศึกษาพิธีกรรมและพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชนไทดำบ้านนาป่าหนาด (๓) เพื่อศึกษาพลวัฒน์การปรับตนของชนไทดำบ้านนาป่าหนาดในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเลย เป็นวิจัยภาคสนามมีวิธีดำเนินการศึกษาวิจัย ได้แก่ การศึกษาในเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


ความเป็นมาของกลุ่มชนไทดำบ้านนาป่าหนาด พบว่า บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีโครงสร้างทางสังคมที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกลุ่มชนชาวไทดำเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มชนชาวไทดำจะนับถือผีตามบรรพบุรุษมีาษาที่พูด เพราะกลุ่มชนชาวไทดำมีภาษาพูดเป็นของตนเอง จึงแตกต่างกันในทางความเชื่อที่เป็นความเชื่อดังเดิม


พิธีกรรมและพหุวัฒนธรรมของชาวไทดำ พบว่า เป็นพิธีกรรมที่เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มมี การนับถือผีของไทดำหรือไทดำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของสังคมไทดำการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นสัญลักษณ์และลักษณะทางวัฒนธรรมของไทดำ


พลวัตการปรับตนของชนไทดำบ้านนาป่าหนาดในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเลย พบว่า  พลวัตของกลุ่มชาติพันธุ์ในการต่อสู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ สิทธิ ความเชื่อ และภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อไทดำ ความเปลี่ยนแปลงในการปรับตัวมักจะมุ่งไปในทิศทางค่านิยมอันเป็นพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมนำไปสู่การเปรียบแปลง คือ ๑) การเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณคุณภาพและสิ่งแวดล้อมทุกด้าน ๒) มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนต่อเนื่อง ๓) เป็นพลวัตรถึงความเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  ๔) มีลักษณะเป็นแผนและโครงการที่ก่อเกิดขึ้นจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ๕) มีลักษณะเป็นวิชาการ  ๖) มีลักษณะที่ให้น้ำหนักต่อการปฏิบัติความจริงที่ทำให้เกิดผลจริง ๗) การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากมนุษย์


 


 

Article Details

How to Cite
อินฺทสโร (กิจไร่) พ., & ฐิตปญฺโญ พ. . (2020). พลวัฒน์การปรับตนของชนไทดำบ้านนาป่าหนาดในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเลย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 345–360. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/239983
บท
บทความวิจัย

References

สุมิตร ปีติพัฒน์ และเสมอชัย พูลสุวรรณ. (2540). ลาวโซ่งพลวัฒน์ระบบวัฒนธรรมในรอบ สองศตวรรษ. กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Napolian Hil. (2015). Philosophy of Life Science of Success, (13th ed.). Kurong Thep MahaNakhon: The Great Fine Art.

Seree chalao. (2002). Ethnic of culture and traditions, Nakhon Sawan Province: Office of Research and Academic Services, Nakhon Sawan Rajabhat Institute.

Renu Muanjanchoei. (2002). Ethnic groups, culture and traditions, Nakhon Sawan Province: Office of Research and Academic Services, Nakhon Sawan Rajabhat Institute.

Sumitr Pitipad and Smerchai pulluwan. (1997). Laos Song pholawat, Cultural system in two centuries. Bangkok : Faculty of Social Sciences and Anthropology, Thammasat University.