โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Main Article Content

สมบัติ นามบุรี
นัยนา เกิดวิชัย
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

 


    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ 3) เพื่อนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปของการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่พัฒนาขึ้น และศึกษาอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมระหว่างตัวแปรในโมเดล โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 490 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเบ้ (Skewness) และค่าความโด่ง (Kurtosis) การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความตรงตามกรอบแนวคิดในการวิจัยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 12 คน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.54, S.D.= 0.688) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย 1) ยอมรับการเปลี่ยนแปลง 2) พร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) วิสัยทัศน์ก้าวไกล 4) ใส่ใจในการสื่อสาร 5) ให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี 6) มีทักษะการประสานงาน และ 7) รู้จักประมาณตน

  2. ความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผลการตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value = 0.051, = 137.56, df. = 112, /df = 1.228, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, SRMR = 0.039, RMSEA = 0.022) ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ของสมการโครงสร้างตัวแปรภายในแฝงพบว่ามีค่าเท่ากับ 0.73 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลคือ บรรยากาศองค์การ และแรงกดดันภายนอก สามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติตามหลักปาปณิกธรรม ได้ร้อยละ 73 และยังพบว่าสมการโครงสร้างตัวแปรภายในแฝงมีค่าเท่ากับ 0.66 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลคือ บรรยากาศองค์การ แรงกดดันภายนอก และการปฏิบัติตามหลักปาปณิกธรรม สามารถอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 66 เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดลพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 0.81 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง 0.28 และอิทธิพลทางอ้อม 0.54 เป็นอิทธิพลรวม 0.82 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวม ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดลพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกดดันภายนอกกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 0.25 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง -0.08 และอิทธิพลทางอ้อม 0.06 เป็นอิทธิพลรวม -0.02 โดยที่อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังพบว่าตัวแปรการปฏิบัติตามหลักปาปณิกธรรม ยังมีขนาดอิทธิพลทางตรงส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เท่ากับ 0.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในครั้งนี้มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ด้านซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1) ยอมรับการเปลี่ยนแปลง 2) พร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) วิสัยทัศน์ก้าวไกล 4) ใส่ใจในการสื่อสาร 5) ให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี 6) มีทักษะการประสานงาน และ 7) รู้จักประมาณตน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมให้คุณสมบัติเหล่านั้นเด่นชัดขึ้นได้แก่ บรรยากาศองค์การทั้ง 6 ด้านประกอบด้วย 1) มาตรฐานในการทำงาน 2) ความรู้สึกผูกพันและรับผิดชอบต่อองค์กร การสร้างแรงจูงใจ 4) การสนับสนุนจากคนรอบข้าง 5) โครงสร้างองค์กร และ 6) ความท้าทายและความรับผิดชอบในการทำงาน โดยมีการปฏิบัติตามหลักปาปณิกธรรมทั้ง 3 ด้านเป็นตัวกำกับหรือการใช้หลักธรรมกำกับหลักการ ประกอบด้วย 1) จักขุมา (มีวิสัยทัศน์) สามารถรับรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน มองเห็นอนาคต 2) วิธูโร (จัดการดี) 3) นิสสยสัมปันโน (มีมนุษยสัมพันธ์) ซึ่งจะทำให้เป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและมีภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

 

Article Details

How to Cite
นามบุรี ส., เกิดวิชัย น. ., & สุยะพรหม ส. . (2019). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 803–822. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/228969
บท
บทความวิจัย