Buddha Marketting
Main Article Content
Abstract
“พุทธะมาร์เก็ตติ้ง” เป็นหนังสือ ที่มีเนื้อหาเน้นการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของธุรกิจ สะท้อนถึงรูปแบบการคิดของผู้ประกอบการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าด้วยกัน สามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ว่ากันว่า หนังสือ “พุทธะมาร์เก็ตติ้ง” ทำให้ได้ตระหนักถึงความหมายอันแท้จริงที่ซ่อนภายในชื่อของหนังสือ ทำให้ มีสติในการใช้ชีวิตในฐานะผู้บริโภค มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคมีความพอเพียง ทำให้รู้ถึงจุดอ่อนของ และจุดแข็งของคนทำธุรกิจ นี่ก็คือแนวคิดการตลาดที่แฝงไปด้วยธรรมะ เป็นเหมือนคู่มือในการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ จนกลายเป็น “บริโภคอย่างมีสติ” และดำเนินชีวิตอย่างมีความ“ความสุข” (สันติ-Happiness) ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความสมดุล (มัชฌิมาปฏิปทา-Balance) ตามหลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาที่ผสานอย่างลงตัว
พุทธะมาร์เก็ตติ้งเป็นการอธิบายการตลาดแบบพระพุทธศาสนา เป็นการผสมผสานและการประยุกต์แนวคิดทางการตลาดและพระพุทธศาสนาให้ทำงานร่วมกัน ธรรมะกับการตลาดนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งแนวคิดและวัตถุประสงค์ แต่ในความแตกต่างกลับพบทั้ง ๒ สิ่งไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด มักพบอยู่ปะปนกันในกิจกรรมต่าง ๆ และมีความเหมือนสอดคล้องกันในหลาย ๆ เรื่อง ช่วยเสริมสร้างความเจริญซึ่งกันและกัน เคล็ดลับความสำเร็จจึงอยู่ที่ผสมผสานทั้ง ๒ ศาสตร์ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เมื่อเข้าสู่จุดสมดุล จะช่วยสร้างสรรค์ทั้งธุรกิจและศาสนาให้ยั่งยืนได้
ประพันธ์ขึ้นโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ได้แก่ ทันตแพทย์สม สุจีรา และ ภญ.ดร.อโณทัย งามวิชัยกิจ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจเนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ว่า ผู้แต่งทั้งสองท่านต้องการสื่อความหมายของคำว่า “พุทธะมาร์เก็ตติ้ง” แท้จริงแล้ว คืออะไร
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธัมมิกา (ประเทศไทย) จำกัด
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิตเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ
พระมหาหรรษา ธมมหาโส. (2555). พระพุทธศาสนากับการตลาด. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562,
จาก http://www.komchadiuek.net/news/lifesty/142779.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.9 ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. วัดราชโอรสาราม
กรุงเทพมหานคร.
ภูวนาถ บางพาน. (2561). นิตยสาร Secret ปีที่ 10 ฉบับที่ 233. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
(มหาชน).
สม สุจีรา และ อโณทัย เนะ. (2558). พุทธะมาร์เก็ตติ้ง. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.
ชมรมคนรักในหลวง. (2555). ความหมาย-เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562,