ทิศทางและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

สายฝน อินศรีชื่น
พันธ์ทิพย์ วรวาท
โชคชัย พนมขวัญ

บทคัดย่อ

                  บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงทิศทางและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไทย จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การบริการสุขภาพของประเทศในปัจจุบัน และจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การดูแลผู้สูงอายุของไทยในอนาคตต้องมีการปรับทิศทางและรูปแบบการดูแลผู้อายุให้มีความเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุโดยเน้นการดูแลตามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง


                   รูปแบบการดูแลแต่ละแบบมีจุดเน้นของแนวทางคือ กลุ่มติดสังคม มีทิศทางไปที่การดูแลตนเองของผู้สูงอายุเองเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมการปฏิบัติตน และความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม เน้นการส่งเสริมตามหลัก 4 Smart  กลุ่มติดบ้าน เน้นการยืดระยะเวลาเจ็บป่วย และอยู่อย่างมีความสุข เน้นการส่งเสริมตามหลัก 5 ส กลุ่มติดเตียง เน้นคงศักยภาพ และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนส่งเสริมตามแนวทางการดูแลระยะยาว (Long term care)  ส่วนการสนับสนุนจากคนในครอบครัว เป็นการสร้างกำลังใจและผลักดันในเกิดความต่อเนื่องเพิ่มขึ้นและจะเกิดผลลัพธ์ด้านการดูแลมากสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุทุกคน ส่วนการสนับสนุนของชุมชนเป็นการส่งเสริมกลไกการดำเนินการในระบบภาพรวมที่ตรงตามบริบทของพื้นที่ ส่วนการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะเป็นการผลักดันให้การดำเนินการกลายเป็นระบบนโยบายทำให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนจึงเป็นจุดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทิศทางและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไทยให้มีสุขภาพดีในภาพรวมต่อไป


 

Article Details

How to Cite
อินศรีชื่น ส., วรวาท พ. ., & พนมขวัญ โ. . (2020). ทิศทางและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/219831
บท
บทความวิชาการ

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม และวัลทณี นาคศรีสังข์. (2560). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ

เมื่อเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 1-11.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับประชาชน: ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่

ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561) .รายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายไตรมาส ปี

(มกราคม-มีนาคม).ออนไลน์. เข้าถึง เมื่อ5 ตุลาคม 2562. จาก :http://ebooks.msociety.go.th/

ebooks/view/350#page/1

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2561). ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาล

และการดูแลสุขภาพ, 36(4), 15 – 24.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และรัชณีย์ ป้อมทอง. (2561). แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่21 : ความท้าทายในการพยาบาล. วารสาร

พยาบาลทหารบก, 19(1), 39-46.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณผูสูงอายุไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี: โรงพิมพเอพลัสมีเดีย.

สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณี สมรัตน์ และอนัญญา เดชะคำภู. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ:

กรณีศึกษาในผู้สูงอายุตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับ

ชาติและนานาชาติ 2560. วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ อาคารพจน์ สารสินมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 699- 707

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2560). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. สืบค้น 5 ตุลาคม 2562, จาก

:http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N08-02-61-1.aspx

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2559. การบริการสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของครัวเรือน.

สืบค้น 5 ตุลาคม 2562, จาก :http://stream.nhso.go.th/wp-content/uploads/ebooks/annual-2017/#page=28