การจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของผู้เรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง)
วิทยา ทองดี
ประยูร แสงใส
ปานจิตร กุสุมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ เปรียบเทียบ และเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของนักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 18 คน และครูผู้สอน 173 คน จากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่และหาค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยค่าที (t-test independent) และการทดสอบเอฟเทส (F-test)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของนักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการอบรมสั่งสอน 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียน 4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ตามลำดับ

  2. 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติต่อการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของนักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อแยกเป็นรายด้าน ด้านการจัดการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อแยกเป็นรายด้าน ด้านการอบรมสั่งสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ประสบการณ์ทำงานระยะไม่เกิน 5 ปี มีความคิดเห็นต่อระดับปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของผู้เรียนน้อยกว่าประสบการณ์ทำงานระยะ 11 ปีขึ้นไป

  3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของผู้เรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า 3.1) ด้านการอบรมสั่งสอนต้องสั่งสอนให้นักเรียนมีความประพฤติที่ดี
    มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้าน คือ กาย ใจ ปัญญา อย่างสม่ำเสมอ 3.2) ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียนพบว่าต้องมีการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3.3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียน พบว่าควรจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นสัดเป็นส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้มากขึ้น จัดให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน และใช้พื้นที่ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ปฏิสัมพันธ์กับชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณโรงเรียน และเขียนป้ายพุทธภาษิต ติดตามต้นไม้เพื่อให้นักเรียนได้อ่าน3.4) ด้านการจัดการเรียนรู้พบว่าควรจัดการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น PBL (Problem Based Learning or Project Based Learning) การจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม (Head Hands Harts) เป็นต้น

Article Details

How to Cite
(ภูมิรัง) พ. ธ., ทองดี ว., แสงใส ป. ., & กุสุมาลย์ ป. (2019). การจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของผู้เรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 123–136. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/219408
บท
บทความวิจัย

References

Kanchana Pimsuk. (2013). The application of Saraniyadhamma 6 in the administration of educational institutions of
school administrators under the Office of Khon Kaen Primary Education Area 1. Graduate School :
Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrakhru Prathipthamat (Chutin Tharo). (2012). Organizing activities to promote morality and ethics of students. Khlong
Charoen Rat School Bang Sao Thong District Samut Prakarn Province. Philosophy thesis. Graduate School:
Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrakhru Winaithorn Sudjai Chitamano (Khanpradoem) (2017). AnApplication Of Six Principles Of Saraniyadhamma To
The Administration Of Bhuddhist General Education Schools In Kalasin Province. Graduate School : Mahamakut
Buddhist University.
PhraMahaNipitphon Chirawattano (Wong Anu). (2017). Learningmanagement for developing ethical learners In the
study of social studies, religion and culture at the upper secondary level, Muang District, Nong Khai Province.
Master of BuddhistThesis, Social Studies Teaching, Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
PhraWeera Sriphrom. (2011). Problems in organizing moral development activities in schools under the Office of
Buriram Primary Educational Service Area 3. Master's thesis Graduate School: Buriram Rajabhat University.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological
Measurement, 30(3)