การเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านประสบการณ์ในมหาวิทยาลัย และการย้อนพินิจบทบาทของผู้สอน

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ อัศวราชันย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ยูมิโกะ ยามาโมโตะ
  • ฮารุนะ ยามาชิตะ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, เรื่องราวชีวิต, วิชาฝึกงาน, ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, ที่ทำงาน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงในการเรียนรู้ของนักศึกษาผู้ผ่านกระบวนการเรียนวิชาฝึกงาน วิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งถึงการเรียนรู้ในที่ทำงาน โดยใช้วิธี “Life Story” ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย A จำนวน 3 คนที่มีคุณสมบัติตรงตามกระบวนการ คือ ผ่านการฝึกงานในบริษัท B ที่ประเทศญี่ปุ่น ลงเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจในมหาวิทยาลัย และปัจจุบันทำงานอยู่ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ของแต่ละคนในขณะที่เป็นนักศึกษานั้น ไม่จำกัดอยู่เพียงเฉพาะตัวความรู้ที่ผู้สอนจัดให้ในชั้นเรียนเท่านั้น แต่รับความรู้และตีความแตกต่างกันตามบริบทภายในของแต่ละคน และการเรียนรู้รวมไปถึงประสบการณ์ที่เห็นและรู้สึกซึ่งได้รับในแต่ละช่วงของกระบวนการ จากความเข้าใจการเรียนรู้ของนักศึกษาดังกล่าว ทำให้สะท้อนกลับไปที่บทบาทของผู้สอนที่ต้องปรับการจัดการเรียนการสอนจากมุมมองที่คิดว่าจะ “สอนอะไร” เปลี่ยนเป็นผู้เรียน “ได้เรียนรู้อะไรแล้ว”

References

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, ยูมิโกะ ยามาโมโตะ. (2017). “การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพการทำงานในระดับสากล: กรณีการเตรียมความพร้อมสำหรับฝึกงานในต่างประเทศ”. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 7(2), 83-100.

ธวัช คำทองทิพย์. (2021). การประเมินผลโครงการส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น: กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 38(1), 56-73.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). ราชบัณฑิตยสถาน.

粟飯原志. (2012).「初級からのビジネス日本語教育―香港の大学生を対象としたコースを事例に」『専門日本語教育研究』15, 13-18.

奥村三菜子・櫻井直子・鈴木裕子編. (2016).『日本語教師のためのCEFR』くろしお出版.

金孝卿. (2016).「ビジネスコミュニケーション教育のためのコース・デザインの検討―2014年度及び2015年度の「ビジネス日本語」コースの実践報告―」『多文化社会と留学生教育』20、大阪大学国際教育交流センター, 41-54.

櫻井直子・奥村三菜子. (2021). 「CEFR Companion Volume with New Descriptorsにおける「仲介」に関する考察」日本語教育178号, 154-169.

中嶋洋一編. (2017). 『「プロ教師」に学ぶ真のアクティブ・ラーニングー“脳動”的な英語学習のすすめ』開隆堂.

細川英雄・NPO法人「言語文化研究所」スタッフ編. (2004) . 『考えるための日本語-問題を発見・解決する総合活動型日本語教育のすすめ』明石書店.

細川英雄・西山教行編. (2010). 『複言語・複文化主義とは何か』くろしお出版.

溝上慎一. (2014). 『アクティブラーニングと教授学習パラダイムの転換』東信堂.

無藤隆. (2015). 「優れた教師の実践から学ぶアクティブ・ラーニングの在り方」教育課程研究会編著『「アクティブ・ラーニング」を考える』東洋館出版社, 20-25.

横須賀柳子.(2015). インターン留学生の企業実践共同体への参加による学びの形成.三枝優子,横須賀柳子,馬場美穂,宮副ウォン裕子「実践共同体への参加の過程 ―日本語教育実習生,インターンシップ生,大学院生,社会人による実践行動」(パネル発表)『2015 年度日本語教育学会秋季大会予稿集』, 75-78.

横須賀柳子. (2016).「インターンシップ参加による「職場リテラシー」の学び」リテラシーズ18, 74-88.

横須賀柳子. (2017). 「外国人留学生のインターンシップ参加を通したキャリア探索」『グローバル人材育成教育研究』第4巻 第1号第2号.

横須賀柳子.(2020).「外国人留学生のキャリア形成ーインターンシップ参加の実態調査と事例からー」日本語教育175号、, 50-64.

横溝紳一郎・山田智久.(2019).『日本語教師のためのアクティブ・ラーニング』くろしお出版

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30