การศึกษาหลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล
คำสำคัญ:
หลักการสร้างสรรค์, รำคู่, รองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุลบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทยของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้หลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล ผลการวิจัยพบว่า หลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล ได้ยึดหลักการสำคัญ 2 ประการ ในการสร้างสรรค์รำคู่ คือ การสืบทอดตามหลักจารีตนาฏศิลป์ไทยควบคู่กับการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดยมีแนวคิดพื้นฐานมาจากบทละครในวรรณกรรมที่มีบทการแสดงของ 2 ตัวละคร ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยท่านได้นำทักษะประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการออกแบบทุกองค์ประกอบด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ผสมผสานกับลักษณะพิเศษเฉพาะตนที่มีลีลาการรำตามแบบละครในที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนเกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าในการรักษา สืบสานและต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยบนพื้นฐานของหลักวิชาการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยให้แก่นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทยที่อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการทางด้านนาฏศิลป์ไทย
References
ชนิดา จันทร์งาม. (2566). รายงานวิจัยเรื่อง การสร้างอัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าฝั่งธนบุรีผ่านเพลงออกภาษาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ผุสดี หลิมสกุล. (2555). รำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ผุสดี หลิมสกุล. (2558). บันทึกผลงานสร้างสรรค์ชุด มะเดหวีและจินดาส่าหรีชมสวนของ รองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล. เอกสารไม่ตีพิมพ์.
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2553). บทละครเรื่อง อิเหนา. กรุงเทพฯ: เพชรกระรัต.
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2561). หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(2), หน้า 83-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)