การตั้งชื่อวัดในพระพุทธศาสนากับความคิด ความเชื่อ และค่านิยม ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อนุสรา ศรีวิระ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ชื่อวัด, อำเภอพระประแดง, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและวิเคราะห์ความคิด ความเชื่อ และค่านิยม ที่ปรากฏในชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 38 รายชื่อ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ที่มาของการตั้งชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการแบ่งได้ 6 กลุ่ม คือ 1) การตั้งชื่อวัดตามชื่อตำบลหรือหมู่บ้าน พบมากที่สุด จำนวน 13 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 34.21 2) การตั้งชื่อวัดตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ พบจำนวน 9 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 23.68 3) การตั้งชื่อวัดตามบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวัด พบจำนวน 7 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 18.42 4) การตั้งชื่อวัดตามเหตุการณ์สำคัญ พบจำนวน 5 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 13.16 5) การตั้งชื่อวัดตามพืชพรรณธรรมชาติ พบจำนวน 3 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 7.90 และ 6) การตั้งชื่อวัดโดยเกี่ยวข้องกับชื่อภาษามอญ พบจำนวน 1 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.63 และชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ยังแสดงให้เห็นความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของคนพระประแดง   5 ประการ ได้แก่ 1) การให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยรอบวัด 2) ค่านิยมเรื่องการให้ความเคารพและให้เกียรติบุคคลสำคัญ 3) การให้ความสำคัญกับเหตุการณ์สำคัญของวัด 4) ความเชื่อ เรื่องพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องสวรรค์ และ 5) การให้ความสำคัญกับกลุ่มชาติพันธุ์มอญ

References

กุสุมา สุ่มมาตร์. (2552). การปรับเปลี่ยนชื่อวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ซิลวี่ ฮอลลิงก้า. (2565). พระอินทร์ : บทบาทในพุทธประวัติ. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_92784

นฤมล ตุงคะโหตร. (2547). การตั้งชื่อวัดในพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปนิตา จิตมุ่ง. (2554). การตั้งชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสรางสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน.

วจี โสภาเพียร. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมในวัดมอญและวัดไทยในเขตเมืองนครเขื่อนขันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2561). การตั้งชื่อวัดในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 6: การเกษตรก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน, (หน้า 1277-1285). ราชบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สำราญ จูช่วย. (2561). รายงานวิจัยเรื่อง ภูมินามวัดในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุพรรณี เรืองสงค์. (2564). การตั้งชื่อวัดมอญในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวรรณวิทัศน์, 21(2), หน้า 27-57.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวัด. สืบค้นจาก https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/2477

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2567). ทะเบียนวัด. สืบค้นจาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-View.aspx?search=&pagesize=20&pageno=1&sortexpr=&sortorder=&NameTemp=&TypeTemp=&Sect=&Province=11&District=1104&SubDistrict=

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลิน ปานทอง. (2560). การตั้งชื่อคลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024