นางชฎา: วรรณกรรมประชานิยมสู่การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์
คำสำคัญ:
วรรณกรรมประชานิยม, การดัดแปลง, ละครโทรทัศน์บทคัดย่อ
นวนิยายประชานิยมแนวสยองขวัญ เป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสร้างความบันเทิงและมีจุดประสงค์หลัก คือ การเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากวรรณกรรมชั้นสูงที่มุ่งเน้นในการใช้ภาษาและโครงสร้างที่ซับซ้อน ส่งผลให้วรรณกรรมประชานิยมนั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มสังคม จนก่อให้เกิดการผลิตซ้ำและดัดแปลงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หากแต่ยังคงไว้ซึ่งชุดข้อมูลเดิม วรรณกรรมประชานิยมของ ภาคินัย เรื่อง “นางชฎา” ได้รับความนิยมจนได้มีการนำมาทำเป็นละครโทรทัศน์เรื่อง “นางชฎา” ซึ่งมีกระบวนการที่นำข้อมูลชุดเก่าและโครงสร้างจากวรรณกรรม มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอผ่านละครโทรทัศน์ มีสิ่งที่น่าสนใจในการนำศิลปะการแสดงในด้านนาฏศิลป์มาใช้ในการประกอบสร้างงานใหม่และตีความบริบทใหม่ โดยประเด็นศึกษา คือ 1) การดัดแปลงวรรณกรรมประชานิยมเรื่องนางชฎา สู่การแสดงนาฏศิลป์ในละครนางชฎา 2) การมอบอำนาจให้ผี โดยผ่านภาพลักษณ์ “นางรำ” ในวัฒนธรรมไทย นางรำเป็นตัวแทนของผู้หญิงที่มีความงดงามและอ่อนช้อย แต่เมื่อผีปรากฏในร่างนางรำ ความงดงามนั้นกลับมาพร้อมกับอำนาจที่ทรงพลัง การมอบอำนาจให้กับผีในร่างของนางรำเป็นการสะท้อนถึงอำนาจของเพศหญิงในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมไทย และ 3) คุณค่าของวรรณกรรมประชานิยมเรื่องนางชฎา สู่การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าวรรณกรรมประชานิยมไม่ใช่เรื่องเล่าที่เน้นเฉพาะความบันเทิงเพื่อสร้างจินตนาการและอารมณ์สะเทือนใจ ขณะเดียวกันรูปแบบการแสดงออกทางนาฏศิลป์ยังคงอัตลักษณ์นั้นไว้ผ่านรูปแบบของผีนางรำ
References
ทรูไอดี. (2567). เรื่องย่อ นางชฎา ช่อง 7HD (รีรัน). สืบค้นจาก https://entertainment.trueid.net/synopsis/Vjqv44vzVp0d
ปิยพิมพ์ สมิตดิลก. (2541). การเชื่อมโยงเนื้อหา “นวนิยาย” ในสื่อสิ่งพิมพ์และในสื่อละครโทรทัศน์.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2545). โลกของนางรำ: ตัวตน ความงาม และความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตของนางละครแก้บน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันไทยคดีศึกษา.
ภาคินัย กสิรักษ์. (2556). นางชฎา ฉบับพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ก้าวกระโดด.
มัญชิมา จีนเทศ. (2548). นาฏศิลป์สกุลหลวง ความรู้ ตัวตน และพื้นที่ทางสังคม. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนตรี มีเนียม. (2560). วรรณกรรมการแสดง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วัลลภ พุ่มระชัฎร, ชนัย วรรณะลี และนิวัฒน์ สุขประเสริฐ. (2559). บทบาททศกัณฐ์: กรณีศึกษากระบวนท่ารำและกลวิธีการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตามแนวทางของ นายจตุพร รัตนวราหะ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 9(2), หน้า 1107-1124.
สิรินทร จิระกูล. (2561). แฟนฟิกวรรณคดีไทยแนวยาโออิ: การดัดแปลงวรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมประชานิยม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพจน์ จูกลิ่น และสุพรรณี บุญเพ็ง. (2563). การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เรื่องพระลอตอน “ศึกโหงพราย” จากแนวนิยมความเรียบง่าย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), หน้า 59-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)