สื่ออินโฟกราฟิกสำหรับการประชาสัมพันธ์วิถีเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐกาญ ธีรบวรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ, สื่ออินโฟกราฟิก, การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบอินโฟกราฟิกจากการถอดบทเรียนเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ ประเด็น วิถีเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ โดยพัฒนาบทเรียนสู่การออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 8 หน้ายก 3 ยก (600x800 pixels) ลักษณะการออกแบบเป็นการ์ตูนเรื่องประกอบภาพ จากการทำงานแยกสวนโดยเรียบเรียงเนื้อเรื่อง แล้วจึงเขียนภาพประกอบ โดยมีคำบรรยายประกอบเนื้อเรื่องใช้การบรรยาย คาแรคเตอร์ตัวละครใช้แนวคิดจากตัวละครในการ์ตูนที่มีบทบาทเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ความพึงพอใจด้านการออกแบบของผู้ตอบแบบประเมินกลุ่มวัยทำงานยุค Millennial เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Generation Y จำนวน 400 คน เป็นฐานผู้บริโภคสำคัญที่มีกำลังซื้อสูง ความสำคัญของตลาดกลุ่มนี้คือการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน และมีการบริโภคที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่น ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 33 อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 148 คน คิดเป็น ร้อยละ 40.32 และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จำนวน 177 คน คิดเป็นร้อยละ 48.22 ความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านกราฟิก โดยรวมสีสันสวยงาม สะดุดตา พึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 สีง่ายต่อการจดจำ ค่าเฉลี่ย 3.98 สีเหมาะกับสื่อ ค่าเฉลี่ย 3.87 และสีตัดกันระหว่างภาพ และตัวอักษร ข้อความอ่านง่าย ค่าเฉลี่ย 3.85 อัตลักษณ์คาแรคเตอร์ พึงพอใจมาก ส่วนใหญ่เห็นว่าสื่อมีคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ค่าเฉลี่ย 4.08, คาแรคเตอร์จดจำง่าย ค่าเฉลี่ย 4.04 บ่งบอกความเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ ค่าเฉลี่ย 3.77 ข้อมูลในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำอธิบายชัดเจน เข้าใจง่าย ค่าเฉลี่ย 4.01 ข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน ค่าเฉลี่ย 3.91 และความพึงพอใจภาพรวมต่อสื่อ ค่าเฉลี่ย 3.72

References

เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ. (2563). เป็ดปากน้ำ. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/samutprakan-dwl-preview-431891791912

เบญจมาภรณ์ คงชนะ และเรณุกา ขุนชำนาญ. (2561). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ นักท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษา สวนสละอาทิตย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), หน้า 145-165.

ประภากร ธาราฉาย. (2560). การผลิตสัตว์ปีก สศ 241. เชียงใหม่: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อภิชาติ ศรีสอาด และเตชินี ชวลิต. (2556). คู่มือการเพาะเลี้ยงสัตว์ปีกทำเงินในรั้วบ้าน. กรุงเทพฯ: นาคาอินเตอร์มีเดีย.

อภิสรา กฤตาวาณิชย์. (2564). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา ของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(2), หน้า 140-152.

Donald H. C. (2003). Blended Learning. Retrieved from https://www.scribd.com/document/84278560/Clark-D-Blended-Learning

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024