การศึกษาลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติม และการไม่แปลหรือละคำในการแปลคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีน ในหนังสือสีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 1
คำสำคัญ:
คำทางวัฒนธรรมจีน, การแปลแบบเพิ่มเติม, การไม่แปลหรือละคำบทคัดย่อ
คำและกลุ่มคำทางวัฒนธรรมถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของการแปล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติม และการไม่แปลหรือละคำในการแปลคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีนในหนังสือ สีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 1 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีนจำนวน 459 คำ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติมมี 38 คำ มีลักษณะดังนี้ 1) การเติมข้อมูลที่ถูกละไปของคำย่อในต้นฉบับ 2) การเติมองค์ประกอบตามไวยากรณ์ภาษาไทย และ 3) การเติมคำอธิบายเพิ่ม สำหรับกลวิธีการไม่แปลหรือละคำมี 32 คำ มีลักษณะดังนี้ 1) การตัดคำที่ใช้คู่กัน แต่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกันในภาษาไทย 2) การตัดคำอุปมาอุปไมย หรือคำแสดงอาการ และการกระทำของคำ และกลุ่มคำ 3) การตัดส่วนเสริม หรือคำที่แปลออกมาผิดไวยากรณ์ภาษาไทย และ 4) การตัดคำที่สามารถตีความหมายโดยการอ่านเนื้อความข้างหน้าได้ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ปลายทางของผู้แปลในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่า เขาต้องการให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน และรัดกุม รวมถึงช่วยให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรมจีนที่ผู้เขียนต้นฉบับต้องการสื่อให้ครบถ้วน
References
วราพัชร ชาลีกุล. (2560). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษาอังกฤษและไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Eugene Albert Nida. (1993). Language, Culture, and Translating. Shanghai: Shanghai Foreign Language Education Press.
Fang Mengzhi. (2011). A Dictionary of Translation Studies in China. Shanghai: Shanghai Foreign Language Education Press.
Huang Zhonglian. (2009). Methodology of Translation. Beijing: China Social Sciences Press.
Li Xinxing. (2019). Translation Strategies for Chinese-Specific Expressions from the Perspective of Skopos Theory: A Case Study of “Xi Jinping: The Governance of China”. Unpubished Master's thesis, Heilongjiang University.
Li Yunhan. (2000). Chinese Stylistics. Guangzhou: Guangdong Education Publishing House.
Liang Yuanling. (2008). Translation Theory and Practice between Thai and Chinese. Chongqing: Chongqing University Press.
Liao Qiyi. (2006). Exploration of Contemporary Western Translation Theory. Nanjing: Yilin Press.
Nie Xin. (2019). A Study on the Conceptual Metaphors Translation the Thai Version of Xi Jinping: The Governance of China. Unpubished Master's thesis, Yuannan University.
Peter Newmark. (1988). A Textbook of Translation. New York: Prentice-Hall International.
Pu Biao, & Zhu Zhaowei. (2019). Translation Strategies of Culturally-loaded Words in Xi Jinping: The Governance of China—From the Perspective of Eco-translatology. Journal of Fuqing Branch of Fujian Normal University, 39(6), pp. 46-52.
Pu Xinyue. (2023). A Study on Cambodian Translation of the Conceptual Metaphors in Xi Jinping: The Governance of China Volume 1. Unpubished Master's thesis, Guangxi University for Nationalities.
Qi Ji. (2015). English Translation of Chinese-specific Words in The Governance of China in the Light of Foreignization and Domestication. Unpubished Master's thesis, Beijing Foreign Studies University.
Tang Chunmei. (2019). A Reader Response Theory Perspective on the Translation of Cultural Loaded Words in Chinese: A Case Study of 'Xi Jinping: The Governance of China'. Overseas English, 20(12), pp. 44-45.
Wu Shuang, & He Lingjing. (2020). A Study of Culture-Loaded Words in Translation from the Perspective of Translation Theory of Interpersonal Communication: A Case Study of the English Translation of 'Xi Jinping: The Governance of China'. Chinese Character Culture, 33(23), pp. 127-129.
Yin Pi'an, & Liu Mingxin. (2017). A Study on Translation Strategies of Culture-Loaded Words in 'Xi Jinping: The Governance of China' from the Perspective of Script Theory. Jiangsu Foreign Language Teaching and Research, 21(4), pp. 79-82.
Zhao Chunfang, & Du Mengmeng. (2021). A Study of Cultural Loaded Words in Intercultural Communication. Chinese Character Culture, 33(19), pp. 94-96.
Zhu Chaowei. (2020). What Can Foreign-Oriented Publicity Translators Learn From the Successful Translation of Xi Jinping: The Governance of China. Foreign Language and Literature (bimonthly), 36(3), pp. 83-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)