การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนชายทะเลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ทุนทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, ชายทะเลคลองด่าน, สมุทรปราการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนชายทะเลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในการเลือกเส้นทางและรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว และ 3) เสนอแนวทางการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 1 และข้อ 3 ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 41 คน นำเสนอผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ t-test, F–test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนชายทะเลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านคุณค่าที่สำคัญด้านประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพ วิชาการ และสังคม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาชีพ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณี 2) นักท่องเที่ยวเลือกสถานที่ท่องเที่ยวจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์ให้ตนเองได้ สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านอาชีพโดยมีเจ้าของภูมิปัญญาเป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกสอนให้ในแหล่งท่องเที่ยว และ 3) แนวทางในการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนชายทะเลคลองด่าน ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและหน่วยงานเครือข่าย การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนแห็นคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในชุมชน แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับสมาชิกในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ปี 2567. สมุทรปราการ: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ.
กองพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (2566). แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว พ.ศ. 2566–2570. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.
คัชพล จั่นเพชร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1), หน้า 111-121.
นฤดล สวัสดิ์ศรี และมัสลิน ปูนอน. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อไปสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2554). การทําวิจัยทางสังคมศาสตร์: หลักการปฏิบัติวิธีปฏิบัติและสถิติ. ชลบุรี: สำนักพิมพ์คัมอิน.
วรพงศ์ ผูกภู่ และวราภรณ์ ดวงแสง. (2560). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐาน วัฒนธรรมบ้านลวงเหนือ หมู่ที่ 4 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุชาดา รักเกื้อ. (2560). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ICOMOS Australia. (1999). The Burra Charter: The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. Australia: ICOMOS.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Miles, M.B., & Huberman, A.M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Pierre Bourdieu. (1986). The Forms of Capital. Retrieved from https://home.iitk.ac.in/~amman/soc748/bourdieu_forms_of_capital.pdf
Yin, R.K. (2003) Case Study Research: Design and Methods. (3rd Ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)