การรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและความรุนแรงของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี ที่มีต่อตัวละครในวรรณคดีไทยเฉพาะเรื่อง
คำสำคัญ:
การรับรู้และทัศนคติ, พฤติกรรมการกลั่นแกล้งและรุนแรง, วรรณคดีเฉพาะเรื่องบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มี มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการกลั่นแกล้งและความรุนแรงที่เกิดกับตัวละครเอกและวิธีการรับมือของตัวละครเอกที่ถูกกลั่นแกล้ง 2) เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของนักศึกษาที่เรียนวิชาการใช้ภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและความรุนแรงที่เกิดกับตัวละครเอก และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและความรุนแรงของตัวละครเอกที่ปรากฏในวรรณคดี บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง กลอนบทละครเรื่อง แก้วหน้าม้า และบทละครเรื่องปลาบู่ทอง ฉบับกลอนสวด รวมไปถึงวิธีการรับมือ การแก้ปัญหาเพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทของสังคมปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะ ดังนี้ 1) เกิดจากความตั้งใจกระทำ คิดเป็นอัตราร้อยละ 66.6 2) เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ คิดเป็นอัตราร้อยละ 83.3 และ 3) มักกระทำจากผู้มีพลังอำนาจ คิดเป็นอัตราร้อยละ 56.6 ทั้งนี้ พฤติกรรมการกลั่นแกล้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะในยุคใด จากการวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับ (impact) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งที่ตนเองเคยปฏิบัติกับผู้อื่นนั้นเกิดจากต้องการความสนุก เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีประโยชน์ และมองว่าการตอบโต้ ด้วยการสงบนิ่งเป็นแค่ทางเลือกหนึ่ง ผู้ถูกกลั่นแกล้งสามารถตอบโต้ได้หากอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม คิดเป็นอัตราร้อยละ 76.6 ส่วนการแก้ปัญหาเพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทของสังคมปัจจุบันนั้นคือ บุคคลควรมีความเคารพคนอื่นเท่าที่เคารพตนเอง
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ไทยอันดับ2 “เด็กรังแกกันในโรงเรียน” พบเหยื่อปีละ 6 แสนคน. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27485
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ. (2560). เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย…ทำไมจึงต้องแกล้งกัน. สืบค้นจาก https://waymagazine.org/classroom_10/
เจษฎา นกน้อย. (2562). การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน: ผลกระทบและวิธีการรับมือ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(2), หน้า 263-273.
นิศา บูรณภวังค์. (2563). การกลั่นแกล้งและความรุนแรงในวรรณคดีไทยเฉพาะเรื่อง. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), หน้า 105-124.
ปรานี ปวีณชนา.(2566). Body shaming: คำพูดทำร้ายใจไม่ควรทำ. สืบค้นจาก https://www.manarom.com/blog/body_shaming.html
พิราภรณ์ วิทูรัตน์. (2561, กันยายน 20). Social Bullying ปัญหาสังคมคล้ายจะตลกแต่ไม่ตลก. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/d-life/news-222708
มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. สืบค้นจาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การกลั่นแกล้ง-bullying-วัยรุ่น/
วริษฐา แซ่เจีย. (2562). บูลลี่มา ต้องบูลลี่กลับ? ว่าด้วยผลลัพธ์ของการผลิตซ้ำวัฒนธรรมกลั่นแกล้ง.สืบค้นจาก https://thematter.co/social/stop-the-bullying-cycle/86765
สกล วรเจริญศรี. (2559). การข่มเหงรังแก. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 51, หน้า 13-20.
สุุภาวดีี เจริิญวานิิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), หน้า 639-648.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์. สืบค้นจาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/media/5kjR
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)